วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เครื่องบินรบที่ทันสมัยที่สุด คงไม่พ้น เครื่องบิน F-22 และเครื่องบิน F-35 ที่กำลังผลิตของทางสหรัฐอเมริกา โดยเครื่องบิน F-35 เป็นเครื่องบินรบเอนกประสงค์ที่พัฒนามาเพื่อทดแทนเครื่องบินหลายประเภท (F-16, A-10, F/A-18, AV-8B) ในกองทัพบก, เรือ, อากาศ และนาวิกโยธิน ของเหล่าทัพสหรัฐ ฯ รวมทั้งสำหรับกองทัพอากาศและกองทัพเรือ สหราชอาณาจักร ฯ


F-35 Lighting II

ขีดความสามารถหลัก คือ บินล่องหน หลบเรดาห์ได้ มีอาวุธ อากาศสู่อากาศ อากาศสู่ภาคพื้น อากาศสู่เรือ ปีนกล และระบบหลายชนิดโยธิน ของเหล่าทัพสหรัฐ ฯ รวมทั้งสำหรับกองทัพอากาศและกองทัพเรือ สหราชอาณาจักร ฯ โดยเป็นการลงทุนร่วมระหว่างประเทศสหรัฐ ฯ สหราชอาณาจักร อิตาลี ฮอล์แลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย นอร์เวย์ เดนมารก์ อิสราเอล และสิงคโปร์

อย่างไรก็ดีทางรัสเซีย ก็ได้ทำความร่วมมือกับอินเดียเพื่อผลิตเครื่องบินรบแห่งอนาคต รหัส PAK-FA ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องบิน Mig-29 แต่ไม่ใหญ่เท่า Su-27 โดยใช้เทคโนโลยีจากเครื่องบิน Su-47 และ Mig 1.44 โดยเครื่องบินชนิดนี้จะทำการแทนที่ Su-27 และ Mig-29 โดยเครื่องบินลำใหม่นิ้จะมีขีดความสามารถ อากาศสู่อากาศ อากาศสู่ภาคพื้น อากาศสู่เรือ รวมทั้งความสามารถ AESA Radar โดยใข้เครื่องยนต์ AL-41F หรือดัดแปลงจากเครื่องนี้ โดยทางด้านสหรัฐ อเมริกายังไม่ได้มีโครงการสร้างเครื่องบินมาเป็นคู่แข่ง PAK-FA ณ เวลานี้ เครื่องบิน PAK-FA น่าจะพร้อมบินในปี 2012-2015



PAK-FA

ทางด้านฝรั่งเศสก็ได้พัฒนาเครื่องบินไร้คนขับแบบล่องหนออกมาในรหัสเครื่อง Dassault AVE-C Moyen Duc โดยทำการบินครั้งแรกเมื่อ 2004 สำหรับการใช้งานของกองทัพบกฝรั่งเศส ภารกิจหลักคือการสอดแนมและเก็บข้อมูล



Dassault AVE-C Moyen Duc

กองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้ทำการทดสอบเครื่องบิน X-29 เป็นเวลากว่าสองทศวรรษ โดยที่เครื่องบินลำนี้มีปีกที่พับไปด้านหน้าได้ โดยมีการดัดแปลงปีกใหม่ใหทำการเปลี่ยนตำแหน่งได้ โดยปีกนี้จะทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่ได้ดีขึ้นและ X-29 เป็นเครื่องบินที่มีวงเลี้ยวแคบที่สุดในโลก โดย NASA ได้ทำการพัฒนาและวิจัยเครื่องลำดังกล่าว โดยเครื่องบินนี้ได้ทำการบินทั้งหมดกว่า 374 เที่ยวบิน ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเครื่องบินดังกล่าวมาใช้งาน



X-29: The Switchblade

โครงการความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ ฯ และหน่วยงานวิจัยกระทรวงกลาโหมเยอรมัน กับบริษัท EADS ได้พัฒนาเครื่องบิน X-31 experimental aircraft ที่สามารถลงจอดในมุม 24° และความเร็วต่ำที่ 121 knots และสามารถลงจอดได้โดยอัตโนมัติ



X-31 Vector

โครงการทดลอง X-36 เครื่องบินไม่มีหาง เป็นอีกโครงการหนึ่งที่กองทัพสหรัฐ ฯ ได้ทำร่วมกับ NASA และ Boeing โดยเป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินรบในอนาคตที่ทำมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นการทดสอบเครื่องบินความเร็วสูงควบคู่กับเสถียรภาพทำให้น่าจะเหมาะสมเป็นเครื่องบินรบในอนาคตอย่างแท้จริง ปัจจุบันยังไม่มีความก้าวหน้าจากทั้งสองฝ่ายว่าจะพัฒนาเครื่องบินลำนี้ต่อไปเป็นเครื่องบินรบหรือไม่



X-36 Tailless Fighter Agility Research Aircraft

ภาพข้างล่างนี้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงสูง ที่ไม่มีคนขับ และสามารถไปถึงทุกที่ในโลกภายในเวลาแค่ 2 ชั่วโมง โดยยังเป็นความลับสุดยอดที่ยังไม่มีประเทศใดเปิดเผย แต่คาดว่ามีหลายประเทศกำลังศึกษาอยู่



เครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงสูง-ขั้นความลับ -ลับที่สุด

ทางด้านสหราชอาณาจักร ก็มีโครงการ Future Offensive Aircraft (FOA) โครงการที่รัฐบาลตั้งงบวิจัยเพื่อแทนที่เครื่องบินของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหราชอาณาจักร โดยเครื่องบินข้างล่างอาจมาแทนที่เครื่องบิน Tornado GR.4 interdictor strike aircraft และที่เหลือเป็นภาพทางศิลป์สำหรับแนวทางเครื่องบินโจมตีในอนาคตของกองทัพสหราชอาณาจักร



The Future Offensive Aircraft (FOA)





Artist's impression of a FOAS manned aircraft launching Conventional Air-Launched Cruise Missiles (CALCM)



FOAS is a comprehensive strike system which includes a Conventional Air Launched Cruise Missile, launched from a large non-penetrating aircraft, together with Manned Aircraft and Uninhabited Vehicles.



Weapons system characteristics include hard-target kill capability, modular payload options and co-ordinated attack capability.



Artist's impression of a FOAS military transporter launching Conventional Air-Launched Cruise Missiles (CALCM)



Artist's impression of a FOAS unmanned aerial vehicle after deployment from a conventional aircraft.



The Future Offensive Air System Schematic



Options being evaluated for the FOAS Manned Aircraft include THE Lockheed Martin F-35 Joint Strike Fighter or derivatives of the Eurofighter

F-15




ต้นกำเนิด
ในปีพ.ศ. 2510 หน่วยข่าวกรองสหรัฐประหลาด[2] เมื่อรู้ว่าสหภาพโซเวียตกำลังสร้างเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่ามิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25[3] ในตอนนั้นทางฝั่งตะวันตกไม่รู้ว่ามิก-25 ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องบินสกัดกั้นความเร็วสูง (ไม่ใช่เครื่องบินครองความได้เปรียบทางอากาศ)[4] ดังนั้นจุดเด่นของมันคือความเร็วไม่ใช่ความคล่องตัว หางที่ใหญ่ของมิก-25 นั้นทำให้เครื่องบินบางลำของสหรัฐเสียเปรียบ มันทำให้กองทัพอากาศกลัวว่ามันจะทำงานได้ดีกว่าเครื่องบินของอเมริกา ในความเป็นจริงครีบและหางที่ใหญ่ของมิก-25 มีไว้เพื่อจัดการกับความเฉื่อยในการบินด้วยความเร็วสูงและระดับสูง

เอฟ-4 แฟนทอม 2 ของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐเป็นเครื่องบินขับไล่แบบเดียวที่มีกำลังและความคล่องตัวพอที่จะจัดการกับภัยคุกคามจากเครื่องบินขับไล่ของโซเวียต[3] ตามนโยบายแฟนทอมนั้นไม่สามารถปะทะกับเป้าหมายโดยที่ยังไม่เห็นอย่างจัดเจนได้ ดังนั้นพวกมันจึงไม่สามารถจัดการกับเป้าหมายในระยะไกลได้ตามที่ถูกออกแบบมา ขีปนาวุธพิสัยกลางเอไอเอ็ม-7 สแปร์โวร์และแม้กระทั่งเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ก็ไม่มีประสิทธิภาพในระยะใกล้ซึ่งพบว่าปืนมักเป็นอาวุธที่ดีกว่าในระยะดังกล่าว[5] เดิมทีแฟนทอมไม่มีปืนแต่ประสบการณ์จากสงครามเวียดนามทำให้ต้องเพิ่มปืน เข้าไป ปืนถูกติดเข้าไปที่ด้านนอกและต่อมาเอ็ม61 วัลแคนก็ถูกใช้กับเอฟ-4อี

[แก้] โครงการเอฟ-เอ็กซ์
มีความต้องการเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ซึ่งจะขจัดข้อจำกัดในการต่อสู้ระยะใกล้ของแฟนทอมในขณะที่ยังคงมีความสามารถในระยะไกล หลังจากปฏิเสธโครงการวีเอฟเอ็กซ์ของกองทัพเรือสหรัฐ (ซึ่งนำไปสู่เอฟ-14 ทอมแคท) กองทัพอากาศสหรัฐประกาศความต้องการของตนสำหรับเครื่องบินขับไล่ทดลองหรือเอฟเอ็กซ์ (Fighter Experimental, F-X) เป็นความต้องการเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรีบทางอากาศน้ำหนักเบา[6] เครื่องบินขับไล่ที่ว่านั้นต้องมีที่นั่งเดียวโดยมีน้ำหนักสูงสุดตอนวิ่งขึ้น 18,100 กิโลกรัม สำหรับบทบาทอากาศสู่อากาศมีความเร็วสูงสุดที่ 2.5 มัค[7] บริษัททั้งสี่ทำการยื่นข้อเสนอโดยไม่เลือกเจเนรัล ไดนามิกส์และทำสัญญากับแฟร์ไชลด์ รีพับลิก นอร์ท อเมริกัน เอวิเอชั่น และแมคดอนเนลล์ ดักลาส บริษัททั้งหมดยื่นข้อเสนอทางเทคนิคในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2512 กองทัพอากาศได้ประกาศการเลือกแมคดอนเนลล์ ดักลาสในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2512[8] แบบที่เลือกนั้นคือเอฟ-14 ที่มีหางแฝดแต่ปีกที่พับไม่ได้ มันไม่ได้เบาหรือเล็กไปกว่าเอฟ-4 ที่มันจะเข้ามาแทนที่เสียทีเดียว


ห้องนักบินของเอฟ-15เอรุ่นแรกของอีเกิลใช่ชื่อว่าเอฟ-15เอสำหรับแบบหนึ่งที่นั่งและเอฟ-15บีสำหรับแบบสองที่นั่ง แบบเหล่านี้ใช้เครื่องยนต์แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์เอฟ100 เพื่อให้ได้อัตราแรงขับต่อน้ำหนักที่ดี ด้วยปืนใหญ่อากาศจีเอยู-7 ขนาด 25 ม.ม.พร้อมกระสุนไร้ปลอกถูกเปลี่ยนไปเป็นเอ็ม61 วัลแคนเนื่องจากปัญหาในการพัฒนา เอฟ-15 มีที่ตั่งสแปร์โรว์ที่ตำบลเช่นเดียวกับแฟนทอม ปีกของมันถูกทำให้แบนราบ ลำตัวที่กว้างยังให้พื้นผิวการยกที่ดี มีคำถามเกี่ยวกับการที่มันไม่สามารถต่อกรกับมิก-25 ที่บินสูงได้ แต่ความสามารถของมันก็ถูกเปิดเผยในการรบ

เอฟ-15เอทำการบินครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2515 พร้อมกับการบินของเอฟ-15บีเดือนเดียวกันในปีพ.ศ. 2516[9]

เอฟ-15 มีเรดาร์จับเป้าแล้วยิงที่สามารถจับเป้าหมายที่บินในระดับต่ำ เอฟ-15 จะใช้คอมพิวเตอร์พร้อมการควบคุมและการแสดงผลแบบใหม่เพื่อลดการทำงานของนักบินและใช้นักบินเพียงหนึ่งนายเท่านั้น ไม่เหมือนกับเอฟ-14 หรือเอฟ-4 เอฟ-15 นั้นมีกรอบห้องนักบินเพียงอันเดียวทำให้มีมุมมองที่ชัดเจน กองทัพอากาศสหรัฐนำเสนอมันเป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศที่ดีหลังจากเอฟ-86 เซเบอร์[10]

เอฟ-15 เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าอย่างกองทัพอากาศอิสราเอลและกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น และการพัฒนาของเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลได้ก่อให้เกิดเครื่องบินขับไล่โจมตีซึ่งได้เข้ามาแทนที่เอฟ-111 อย่างไรก็ตามมรการวิจารณ์จากกลุ่มมาเฟียเครื่องบินขับไล่ที่ว่าเอฟ-15 มีขนาดใหญ่เกินไปที่จะเหมาะกับการต่อสู้ที่ชุลมุน และแพงเกินไปที่จะจัดซื้อในจำนวนมากเพื่อแทนที่เอฟ-4 และเอ-7 จึงนำไปสู่โครงการแอลดับบลิวเอฟหรือเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา ซึ่งก่อให้เกิดเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนและเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทของกองทัพเรือ

[แก้] การพัฒนาเพิ่มเติม

เอฟ-15ซีของกองทัพอากาศสหรัฐเอฟ-15ซีหนึ่งที่นั่งและเอฟ-15ดีสองที่นั่งได้เข้าสู่การผลิตในปีพ.ศ. 2521 ด้วยการบินครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์และมิถุนายนในปีเดียวกัน[11] รุ่นใหม่นี้มีการพัฒนาชุดพีอีพี 2000 (Production Eagle Package, PEP 2000) รวมทั้งเชื้อเพลิงภายในเพิ่มอีก 900 กิโลกรัม การจัดหาถังเชื้อเพลิงภายนอกและน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดที่ 30,700 กิโลกรัม[12]

โครงการการพัฒนาหลายระยะหรือเอ็มเอสไอพี (Improvement Program,MSIP) ของเอฟ-15 เริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 พร้อมการผลิตครั้งแรกเป็นเอฟ-15ซีในปีพ.ศ. 2528 การพัฒนารวมทั้งคอมพิวเตอร์ การควบคุมอาวุธที่ตั้งโปรแกรมได้สำหรับเอไอเอ็ม-7 เอไอเอ็ม-9 และเอไอเอ็ม-120 และระบบสงครามอิเลคทรอนิกทางยุทธวิธีซึ่งพัฒนาเป็นเรดาร์เตือนภัยรุ่นเอแอลอาร์-56ซีและชุดตอบโต้เอแอลคิว-135 มีการเพิ่มเรดาร์เอพีจี-70 ซึ่งใช้ไปจนถึงเอฟ-15อี เอฟ-15ซีของเอ็มเอสไอพีก่อนหน้านี้ที่ใช้เรดาร์เอพีจี-63 ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นเอพีจี(วี)1 ซึ่งไว้ใจได้และดูแลรักษาได้ง่ายกว่าในขณะที่ยังทำงานได้ใกล้เคียงกับเอพีจี-70 การพัฒนา[13]

การพัฒนาล่าสุดคือการปรับแต่งเอฟ-15ซีจำนวน 178 ลำให้ใช้เรดาร์เออีเอสเอรุ่นเอเอ็น/เอพีจี-63(วี)3 พร้อมส่งมอบต้นปีพ.ศ. 2552[14] นอกจากนี้กองทัพอากาศยังได้วางแผนที่จะพัฒนาเอฟ-15 ลำอื่นๆ ด้วยระบบหมวกพิเศษ[15]

[แก้] การออกแบบ
เอฟ-15 มีลำตัวที่ทำจากเหล็กทั้งหมดพร้อมกับปีกขนาดใหญ่ ส่วนหางของเครื่องบินนั้นทำมาจากเหล็กทั้งหมดเช่นกันและหางเสือก็เป็นแบบผสม เอฟ-15 มีเบรกอากาศที่ด้านหลังห้องนักบินและล้อลงจอดที่สามารถพับเก็บได้ มันมีเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ100 สองเครื่องยนต์ติดตั้งอยู่ที่สองข้างของลำตัว ห้องนักบินอยู่ในตำแหน่งที่สูงไปทางด้านหน้าของลำตัวพร้อมกับกระจกและฝาครอบขนาดใหญ่

ความคล่องตัวของเอฟ-15 มาจากน้ำหนักปีกที่ต่ำพร้อมกับอัตราแรงขับต่อน้ำหนักที่สูงทำให้เครื่องบินเลี้ยววงแคบได้โดยไม่สูญเสียความเร็ว เอฟ-15 สามารถบินได้สูงได้ถึง 30,000 ฟุตใน 60 วินาที แรงขับจากทั้งสองเครื่องยนต์นั้นมากกว่าน้ำหนักของเครื่องบิน ดังนั้นจึงให้ความสามารถในการเร่งในตอนที่ไต่ระดับในแนวตั้ง ระบบควบคุมอาวุธและการบินถูกออกแบบมาให้นักบินเพียงคนเดียวก็สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยและต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[6] รุ่นเอและซีเป็นแบบสองที่นั่ง รุ่นบีและดีเป็นรุ่นสองที่นั่งสำหรับการฝึก รุ่นอีนั้นที่นั่งที่สองเป็นของคนนำร่องหรือผู้ใช้อาวุธ

ระบบอิเลคทรอนิกอากาศหลายภารกิจรวมทั้งหน้าจอเฮด-อัพหรือฮัด (head-up display, HUD) เรดาร์ ระบบนำเฉื่อย (inertial guidance system, INS) ไฟ การสื่อสารด้วยคลื่นยูเอชเอฟ และการนำร่องอากาศทางยุทธวิธีหรือทาแคน (Tactical Air Navigation, TACAN) และระบบลงจอด มันยังมีระบบสงครามอิเลคทรอนิกทางยุทธวิธี ระบบระบุฝ่าย ชุดตอบโต้อิเลคทรอนิก และคอมพิวเตอร์ดิจิตอลกลาง[16]


เอฟ-15อีจากฐานทัพอากาศเอลเมนดอร์ รัฐอลาสก้าหน้าจอฮัดถูกฉายออกมาจากตัวผสม ระบบการบินที่สำคัญทั้งหมดรวบรวมโดยระบบอิเลคทรอนิกร่วม หน้าจอนี้จะแสดงสภาพแสงทำให้นักบินได้รับข้อมูลที่จำเป็นในการติดตามและทำลายอากาศยานของศัตรูโดยไม่ต้องก้มหน้ามองที่อุปกรณ์อื่น[17]

ระบบเรดาร์พัลส์รุ่นเอพีจี-30/70 ที่มีประโยชน์ของเอฟ-15 สามารถมองขึ้นไปยังข้าศึกที่บินอยู่สูงและมองลงไปยังข้าศึกที่บินอยู่ต่ำได้โดยไม่สับสนกับภาคพื้นดิน มันสามารถตรวจจับและติดตามเครื่องบินและเป้าหมายขนาดเล็กที่เคลื่อนที่เร็วในระยะที่สายตาไม่สามารถมองเห็นได้ เรดาร์จะป้อนข้อมูลของเป้าหมายเข้าไปในคอมพิวเตอร์กลางเพื่อยิงอาวุธ ความสามารถในการล็อกเป้าหมายในระยะ 50 กิโลเมตรด้วยเอไอเอ็ม-120 แอมแรมที่สามารถจัดการเป้าหมายที่เกินระยะสายตาได้อย่างแน่นอน สำหรับการต่อสู้ระยะใกล้เรดาร์จะทำการจับเป้าหมายโดยอัตโนมัติ และข้อมูลนี้จะถูกฉายขึ้นที่หน้าจอฮัด ระบบสงครามอิเลคทรอนิกของเอฟ-15 ให้ทั้งการเตือนภัยและตอบโต้โดยอัตโนมัติ[18]


เอฟ-15อีที่ใช้เบรกอากาศและใช้ถังเชื้อเพลิงพิเศษ.เอฟ-15 สามารถใช้อาวุธอากาศสู่อากาศที่หลากหลาย ระบบอาวุธทำให้นักบินทำการต่อสู้ทางอากาศได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้หน้าจอฮัดและระบบอิเลคทรอนิกอากาศและการควบคุมอาวุธที่อยู่ที่คันบังคับด้านหน้า เมื่อนักบินเปลี่ยนจากระบบอาวุธหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง การนำวิถีจะแสดงขึ้นบนหน้าจอฮัด[19]

เอฟ-15 สามารถติดอาวุธที่แตกต่างกันได้สี่อย่างด้วยกัน ได้แก่ เอไอเอ็ม-7เอฟ/เอ็ม สแปร์โรว์หรือเอไอเอ็ม-120 แอมแรมที่ลำตัวส่วนต่ำ เอไอเอ็ม-9แอล/เอ็ม ไซด์ไวน์เดอร์หรือเอไอเอ็ม-120 ที่ใต้ปีก และปืนแกทลิ่งเอ็ม61เอ-1 ขนาด 20 ม.ม.ที่ฐานปีกด้านขวา[20]

ถังเชื้อเพลิงพิเศษถูกพัฒนามาเพื่อเอฟ-15ซีและดี พวกมันสามารถติดเข้ากับด้านข้างช่องรับลมของเครื่องยนต์ใต้ปีกแต่ละข้าง[20] อย่างไรก็ตามพวกมันลดการทำงานโดยการเพื่อแรงฉุดและไม่สามารถปลดออกได้ขณะบิน ถังเชื้อเพลิงแต่ละถังสามารถจุดเชื้อเพลิงได้ 2,840 ลิตร[21] ถังเหล่านี้เพิ่มพิสัยซึ่งลดการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ ทุกจุดติดตั้งของอาวุธสามารถติดถังเชื้อเพลิงได้ นอกจากนี้ขีปนาวุธสแปร์โรว์หรือแอมแรมสามารถติดตั้งกับมุมของถังได้[12]


เอ็ม61 วัลแคนตอดตั้งอยู่ที่โคนปีกด้านขวาข้างช่องรับลมเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลเป็นแบบสองที่นั่ง สองบทบาท เป็นเครื่องบินขับไล่ทุกสภาพอากาศ สามารถทำภารกิจจู่โจมลึกและต่อสู้ทางอากาศได้ ห้องนักบินที่ด้านหลังถูกพีฒนาด้วยหน้าจอซีอาร์ทีอเนกประสงค์สี่จอสำหรับจัดการระบบและอาวุธของเครื่องบิน ระบบควบคุมการบินแบบดิจิตอลจะบินตามพื้นผิวภูมิประเทศโดยอัตโนมัติ ด้วยการใช้ระบบเลเซอร์ไจโร[22] สำหรับการบินในระดับต่ำด้วยความเร็วสูงเพื่อโจมตีเป้าหมายทั้งในตอนกลางคืนหรือกลางวันในทุกสภาพอากาศเอฟ-15อีจะใช้เรดาร์เอพีจี-70 และระบบแลนเทิร์น[18]

เรดาร์เออีเอสเอรุ่นเอพีจี-63(วี)2 ถูกติดตั้งในเอฟ-15ซีของกองทัพอากาศสหรัฐ[23] การพัฒนานี้รวมทั้งฮาร์ดแวร์ใหม่เกือบทั้งหมดจากเอพีจี-63(วี)1 แต่เพิ่มเออีเอสเอเพื่อเพิ่มการระวังตัวของนักบิน เรดารเออีเอสเอให้ลำแสงที่ไวทำให้มีการติดตามเป้าหมายแทบจะในทันที เอพีจี-63(วี)2 ทำงานร่วมกับอาวุธของเอฟ-15ซีและทำให้นักบินสามารถใช้ข้อได้เปรียบจากความสามารถของเอไอเอ็ม-120 แอมแรม

[แก้] ประวัติการใช้งาน

เอฟ-15ดีจากฐานทัพอากาศทินดัลล์กำลังปล่อยพลุผู้ที่ใช้งานเอฟ-15 มากที่สุดคือกองทัพอากาศสหรัฐ เอฟ-15 ลำแรก (แบบบี) ถูกส่งมอบครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517[24] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 เอฟ-15 ลำแลกถูกมอบให้กับฝูงบินขับไล่ที่ 555[24] เครื่องบินลำแรกๆ ได้ใช้เรดาร์เอพีจี-63 ของฮิวจ์ส แอร์คราฟท์

เอฟ-15 ทำแต้มครั้งแรกในปีพ.ศ. 2522 โดยกองทัพอากาศอิสราเอล[25] ในปีพ.ศ. 2522-2524 ในช่วงความขัดแย้งตามชายแดนของเลบานอนกับอิสราเอล เอฟ-15เอได้ยิงมิก-21 13 ลำและมิก-25 สองลำของซีเรียตก เอฟ-15เอและบีถูใช้โดยอิสราเอลในปฏิบัติการหุบเขาเบก้า ในสงครามเลบานอนเมื่อปีพ.ศ. 2525 เอฟ-15 ของอิสราเอลได้ยิงเครื่องบินขับไล่ 40 ลำของซีเรียตก (มิก-21 23 ลำและมิก-23 17 ลำ) และเฮลิคอปเตอร์เอสเอ.342แอลหนึ่งลำ[26] ต่อมาในปีพ.ศ. 2528 เอฟ-15 ของอิสราเอลในปฏิบัติการวู้ดเลคได้ทิ้งระเบิดใส่ฐานบัญชาการของกลุ่มพีแอลโอในตูนีเซีย [27]

นักบินเอฟ-15ซีของกองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียได้ยิงเอฟ-4อี แฟนทอม 2 สองลำของอิหร่านตกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527 และได้ยิงดัซโซลท์ มิราจ เอฟ1 สองลำของอิรักตกในสงครามอ่าว[28][29][30]

กองทัพอากาศสหรัฐได้ใช้เอฟ-15ซี ดี และอีในสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อปีพ.ศ. 2534 เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการพายุทะเลทรายที่ซึ่งพวกมันได้รับชัยชนะทางอากาศ 36 ครั้งจากทั้งหมด 39 ครั้ง เอฟ-15อีถูกใช้ในตอนกลางคืนเป็นหลักโดยตามล่าหาขีปนาวุธสกั๊ดและตำแหน่งปืนใหญ่[31] ตามที่กองทัพอากาศกล่าวเอฟ-15ซีได้ทำการสังหารเครื่องบินของอิรักไป 34 ครั้งในสงครามเมื่อปีพ.ศ. 2534 โดยส่วนใหญ่ใช้ขีปนาวุธ มีมิก-29 ห้าลำ มิก-25 สองลำ มิก-23 แปดลำ มิก-21 สองลำ ซู-25 สองลำ ซู-22 สี่ลำ ซู-7 มิราจ เอฟ1 หนึ่งลำ อิล-76 หนึ่งลำ พีซี-9 หนึ่งลำ และเฮลิคอปเตอร์เอ็มไอ-8 สองลำ หลังจากครองความได้เปรียบทางอากาศสำเร็จในสามวันแรก เครื่องบินของอิรักเริ่มหนีไปทางหร่านมากกว่าเผชิญหน้ากับฝ่ายอเมริกา เอฟ-15ซีถูกใช้สำหรับการครองอากาศและเอฟ-15อีถูกใช้เพื่อโจมตีเป้าหมายบนพื้นดินอย่างหนักหน่วง เอฟ-15อีได้ทำการสังหารทางอากาศโดยเป็นเฮลิคอปเตอร์เอ็มไอ-8 ของอิรักโดยใช้ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ เอฟ-15อีสูญเสียไปสองลำในปีพ.ศ. 2534 จากการยิงจากบนพื้น[32] อีกลำได้รับความเสียหายบนพื้นจากการยิงของขีปนาวุธสกั๊ดใส่ฐานบินในดาราน[33]

พวกมันถูกใช้สนับสนุนปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอชท์โดยทำการลาดตระเวนในเขตห้ามบินเหนืออิรัก ในปฏิบัติการโพรไวด์คอมฟอร์ทในตุรกี เพื่อสนับสนุนนาโต้ที่ปฏิบัติการในบอสเนีย ในปีพ.ศ. 2537 ยูเอช-60 แบล็คฮอว์คสองลำของสหรัฐถูกยิงตกโดยเอฟ-15 ซีผู้ที่คิดว่าเฮลิคอปเตอร์ทั้งสองลำเป็นของอิรักที่เข้ามาในเขตห้ามบิน[34] เอฟ-15ซีได้ยิงมิก-29 สี่ลำของยูโกสลาเวียตกโดยใช้เอไอเอ็ม-120 แอมแรมในปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซในโคโซโว[32]

เอฟ-15 ในทุกกองทัพอากาศได้ทำการรบทางอากาศที่สังหารไป 104 ลำโดยไม่สูญเสียเลยสักลำในสถิติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[35] ปัจจุบันไม่มีเอฟ-15 (เอ/บี/ซี/ดี) ถูกยิงตกโดยศัตรู มากกว่าครึ่งของการสังหารทั้งหมดทำโดยนักบินของกองทัพอากาศอิสราเอล

[แก้] นักทำลายดาวเทียม

การทดสอบยิงเอเอสเอ็ม-135 เอแซทตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2527 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2529 เอฟ-15เอสองลำได้ถูกใช้เป็นแท่นยิงขีปนาวุธต่อต้านดาวเทียมเอเอสเอ็ม-135 เอฟ-15เอ (หมายเลข 76-0086 และ 77-0084) ถูกดัดแปลงให้บรรทุกเอเอสเอ็ม-135 หนึ่งลูกที่ส่วนกลางพร้อมกับอุปกรณ์พิเศษ[36] มันทำความเร็วได้ 1.22 มัคเป็นแรง 3.8 จีทำมุม 65 องศาขึ้นไปเพื่อปล่อยขีปนาวุธเอแซทที่ความสูง 38,100 ฟุต[37][38] คอมพิวเตอร์การบินถูกพัฒนาให้ควบคุมการไต่ระดับและปล่อยขปีนาวุธ การบินทดสอบครั้งที่สามเกี่ยวข้องกับดาวเทียมสื่อสารที่ปลดประจำการแล้วซึ่งอยู่ในวงโคจรห่างออกไป 555 กิโลเมตร ซึ่งถูกทำลายโดยพลังงานจลน์[37] นักบินวิลเบิร์ต ดี. เพียร์สันเป็นนักบินเพียงคนเดียวที่ได้ทำลายดาวเทียม[38][39]

ขีปนาวุธเอแซทถูกออกแบบมาเพื่อทำลายดาวเทียมจากระยะไกล ด้วยการทำงานกับเอฟ-15เอเป็นครั้งแรก สหภาพโซเวียตอาจสามารถร่วมกับการปล่อยจรวดของสหรัฐด้วยการสูญเสียดาวเทียมสอดแนม แต่เอฟ-15 ที่มีเอแซทจะสามารถแฝงตัวร่วมกับเที่ยวบินนับร้อยของเอฟ-15ได้ โครงการเอแซททำการทดสอบทั้งสิ้นห้าครั้ง โครงการถูกยุบอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2531[36][38]

[แก้] ข้อบกพร่องทางด้านโครงสร้าง
เอฟ-15 ทั้งหมดถูกงดใช้งานโดยกองทัพอากาศสหรัฐหลังจากที่เอฟ-15ซีสองลำจากกองกำลังรักษาดินแดนรัฐมิสซูรี ได้ทำการบินและตกในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15อีที่ใหม่กว่านั้นได้รับอนุญาตให้ทำภารกิจได้ต่อหลังจากนั้น กองทัพอากาศสหรัฐได้รายงานในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ว่าโครงสร้างส่วนบกของเอฟ-15 นั้นเป็นต้นเหตุของปัญหา ทำให้โครงสร้างลำตัวส่วนหน้าช่องรับลมรวมทั้งห้องนักบินแยกออกจากโครงสร้างหลัก[40]

เอฟ-15เอถึงดีถูกสั่งให้ระงับการบินจนกระทั่งปัญหาจะถูกแก้ไขเรียบร้อย[41] เอฟ-15 ที่ถูกระงับเริ่มได้รับความสนใจจากสื่อเมื่อมันเริ่มสร้างความน่าหวั่นใจในการป้องกันทางอากาศของสหรัฐ[42] กองกำลังที่ถูกระงับในบางรัฐต้องพึ่งพาเครื่องบินของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการป้องกัน และที่อลาสก้านั้นต้องพึ่งการป้องกันจากกองกำลังของแคนาดา[42]

ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 กองบัญชาการการรบทางอากาศของสหรัฐได้ประกาศการกลับมาทำงานของเอฟ-15เอถึงดี มันยังได้รับคำแนะนำให้บินอย่างจำกัดในทั่วโลกสำหรับรุ่นที่อาจมีได้รับผลกระทบ[43] การรายงานถึงอุบัติเหตุได้เกิดขึ้นในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยกล่าวว่าการตรวจสอบซากของเอฟ-15ซีได้เปิดเผยว่าโครงสร้างที่มีปัญหาไม่ได้หลักมาตรฐาน ซึ่งทำไปสู่การแตกร้าวและทำให้โครงสร้างที่เหลือพังในขณะทำการบิน[44] ในการรายงานเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551 เอฟ-15 เก้าลำถูกระบุว่ามีปัญหาเดียวกัน ดังนั้นนายพลจอห์น ดี. ดับบลิว. คอร์ลีย์จึงกล่าวว่าอนาคตระยะยาวของเอฟ-15 นั้นเริ่มไม่น่าไว้ใจ[45] ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 กองบัญชาการการรบทางอากาศได้เปิดทางให้กับเอฟ-15เอ-ดีทั้งหมดให้ทำการบินได้หลังจากซ่อมแซมแล้ว [46]

[แก้] อนาคต
เอฟ-15ซี/ดีถูกแทนที่โดยเอฟ-22 แร็พเตอร์ เอฟ-15อีนั้นยังคงประจำการไปอีกหลายปีเพราะบทบาทโจมตีที่แตกต่างและโครงสร้างที่ยังมีอายุการใช้งานน้อยของมัน[1] กองทัพอากาศสหรัฐจะพัฒนาเอฟ-15ซี 178 ลำให้ใช้เรดาร์เออีเอสอีรุ่นเอเอ็น/เอพีจี-63(วี)3[14] และพัฒนาเอฟ-15 ลำอื่นๆ ให้ใช้หมวกพิเศษ[15] กองทัพอากาศจะเก็บเอฟ-15ซี 178 ลำและเอฟ-15อี 224 ลำเอาไว้จนถึงปีพ.ศ. 2568[1]

[แก้] แบบต่างๆ
[แก้] แบบพื้นฐาน
เอฟ-15เอ
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่ง สร้างออกมา 384 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2522[47]
เอฟ-15บี
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก เดิมทีใช้ชื่อทีเอฟ-15เอ สร้างออกมา 61 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2522[47]
เอฟ-15ซี
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่งที่ได้รับการพัฒนาเพิ่ม สร้างออกมา 483 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-2528[47]
เอฟ-15ดี
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก สร้างออกมา 92 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-2528[47]
เอฟ-15เจ
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่งสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น สร้างออกมา 139 ลำภายใต้ใบอนุญาตโดยมิตซูบิชิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524-2540 สร้างในเซนต์หลุยส์[47]
เอฟ-15ดีเจ
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึกของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น สร้างออกมา 25 ลำในญี่ปุ่นโดยมิตซูบิชิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524-2540 ในเซนท์หลุยส์[47]
เอฟ-15เอ็น ซีอีเกิล
แบบสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินที่ยื่นข้อเสนอในทษวรรษที่ 1970 ให้กับกองทัพเรือสหรัฐ เอฟ-15เอ็น-พีเอชเอ็กซ์เป็นอีกข้อเสนอสำหรับการใช้ขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ จุดเด่นเหล่านี้คือปลายปีก อุปกรณ์ลงจอดพิเศษ และตะขอที่หางเพื่อการลงจอดบนเรือ[48]
เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล
ดูที่เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลสำหรับเอฟ-15อี เอฟ-15ไอ เอฟ-15เอส เอฟ-15เค เอฟ-15เอสจี เอฟ-15เอสอี และเอฟ-15อีแบบอื่นๆ
[แก้] แบบการวิจัยและทดสอบ
เอฟ-15 สตรีคอีเกิล (72-0119)
เป็นเอฟ-15เอที่ใช้เพื่อสาธิตการเร่งความเร็วของเครื่องบิน มันได้ทำลายสถิติการไต่ระดับด้วยเวลาไป 8 ครั้งระหว่างวันที่ 16 มกราคมและ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มันถูกส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523[49]
เอฟ-15 เอส/เอ็มทีดี (71-0290)
เป็นเอฟ-15บีลำแรกที่ถูกดัดแปลงให้วิ่งขึ้นและลงจอดในระยะสั้น มันเป็นเครื่องบินสาธิตเทคโนโลยีกระบวนท่า[50] ในปลายทศวรรษที่ 1980 มันได้รับการติดตั้งปีกเสริมพร้อมกับท่อไอเสียทรงสี่เหลี่ยม มันใช้เทคโนโลยีกระบวนท่าและวิ่งขึ้นระยะสั้นหรือเอสเอ็มทีดี (short-takeoff/maneuver-technology, SMTD) [51]
เอฟ-15 แอคทีฟ (71-0290)
เอฟ-15 เอส/เอ็มทีดีที่ต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินวิจัยเทคโนโลยีควบคุมการบิน[50]
เอฟ-15 ไอเอฟซีเอส (71-0290)
เอฟ-15 แอคทีฟต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินวิจัยระบบควบคุมการบินด้วยปัญญาประดิษฐ์ เอฟ-15บี หมายเลขเครื่อง 71-0290 เป็นเอฟ-15 ที่ยังทำการบินอยู่โดยมีอายุมากที่สุดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551[51]
เอฟ-15 เอ็มเอเอ็นเอ็กซ์
เป็นชื่อของเอฟ-15 แอคทีฟที่ไม่มีหาง แต่ก็ไม่เคยถูกสร้างขึ้นมา
เอฟ-15 สำหรับวิจัยการบิน (71-0281 และ 71-0287)
เอฟ-15เอสองลำถูกใช้ทดลองโดยศูนย์วิจัยการบินดรายเดนของนาซ่า การทดลองรวมทั้ง การควบคุมอิเลคทรอนิกดิจิตอลรวมหรือไฮเดก (Highly Integrated Digital Electronic Control, HiDEC) ระบบควบคุมเครื่องยนต์หรือเอเดกส์ (Adaptive Engine Control System, ADECS) ระบบควบคุมการบินค้นหาและซ่อมแซมตัวเองหรือเอสอาร์เอฟซีเอส (Self-Repairing and Self-Diagnostic Flight Control System, SRFCS) และระบบเครื่องบินควบคุมการเคลื่อนที่หรือพีซีเอ (Propulsion Controlled Aircraft System, PCA)[52] เครื่องหมายเลข 71-0281 ถูกส่งกลับให้กองทัพอากาศและถูกนำไปจัดแสดงที่ฐานทัพอากาศแลงลีย์ในปีพ.ศ. 2526
เอฟ-15บี รีเซิร์จเทสท์เบด (74-0141)
ในปีพ.ศ. 2536 เอฟ-15บีลำหนึ่งถูกดัดแปลงและใช้โดยนาซ่าเพื่อทำการทดสอบการบิน[53]
[แก้] ประเทศผู้ใช้งาน
สำหรับแบบที่มาจากเอฟ-15อีดูที่เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล

อิสราเอล
กองทัพอากาศอิสราเอลใช้เอฟ-15 มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 ในปัจจุบันเครื่องบินเหล่านี้จัดเป็นเอฟ-15/เอบีสองฝูงบินและเอฟ-15ซี/ดี หนึ่งฝูงบิน เอฟ-15เอ/บี 15 ลำแรกมีโครงสร้างที่ผลิตโดยสหรัฐอเมริกา[25] การส่งครั้งที่สองถูกหยุดชั่วคราวเพราะได้รับผลกระทบจากสงครามเลบานอน [54]
ญี่ปุ่น
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่นได้รับเอฟ-15เจ 202 ลำและเอฟ-15ดี 20 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 ซึ่งเอฟ-15เจสองลำและเอฟ-15ดีเจ 12 ลำถูกสร้างขึ้นในสหรัฐและที่เหลือถูกสร้างโดยมิตซูบิชิ ในปัจจุบันเครื่องบินเหล่านี้ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 กองกำลังป้องกันทางอากาศได้ตัดสินใจที่จะพัฒนาเอฟ-15 ให้ใช้กระเปาะเรดาร์สังเคราะห์ เครื่องบินเหล่านี้จะถูกแทนที่โดยอาร์เอฟ-4 ที่ในปัจจุบันอยู่ในประจำการ[55]
ซาอุดีอาระเบีย
กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียมีเอฟ-15ซี/ดี 4 ฝูงบินตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 พวกมันประจำการอยู่ที่ฐานบินในดาราน คามิสมูเชท และทาอิฟ
สหรัฐอเมริกา
กองทัพอากาศสหรัฐมีเอฟ-15 630 ลำในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551[56] เอฟ-15 นั้นกำลังจะถูกแทนที่โดยเอฟ-22 แร็พเตอร์
[แก้] เหตุการณ์และอุบัติเหตุครั้งสำคัญ
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ขณะที่กองทัพอากาศอิสราเอลกำลังทำการซ้อมรบทางอากาศ เอฟ-15ดีหนึ่งลำได้ชนเข้ากับเอ-4 สกายฮอว์ค นักบินซิวิ เนดิวิและนักบินร่วมของเขาไม่รู้ว่าปีกของเอฟ-15นั้นถูกฉีกออกสองฟุตจากตัวถัง เอฟ-15 หมุนอย่างควบคุมไม่ได้หลังจากถูกชน ซิวิตัดสินใจที่จะพยายามควบคุมเครื่องและใช้สันดาปท้ายเพื่อเพิ่มความเร็ว ทำให้เขาควบคุมเครื่องได้อีกครั้ง เพราะว่าการยกตัวที่เกิดจากพื้นที่ผิวหน้าขนาดใหญ่ของตัวถัง ปีหส่วนหาง และพื้นที่ปีกที่เหลือ เอฟ-15 ได้ลงจอดด้วยความเร็วสองเท่าจากปกติเพื่อสร้างแรงยกและตะขอที่หางของมันหลุดออกไปในตอนที่ลงจอด นักบินสามารถหยุดเอฟ-15 6 เมตรก่อนสุดทางวิ่ง ต่อมาเขาได้กล่าวว่า "ผมน่าจะดีดตัวออกมาถ้ารู้ว่ามันเกิดขึ้น"[57][58]
ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 เอฟ-15 ลำหนึ่งที่ฐานทัพอากาศเอลเมนดอล์ฟ ได้เกิดยิงเอไอเอ็ม-9เอ็มใส่เอฟ-15 อีกลำหนึ่งโดยอุบัติเหตุ เครื่องบินที่ได้รับความเสียหายสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย ต่อมามันได้รับการซ่อมแซมและเข้าประจำการต่อ[59]
ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ในขณะซ้อมการเข้าสกัดกั้นเหนือทะเลญี่ปุ่น เอฟ-15เจลำหนึ่งถูกยิงตกโดยขีปนาวุธเอไอเอ็ม-9 ที่ยิงโดยลูกหมู่ของเขาโดยอุบัติเหตุเหมือนกับที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 นักบินดีดตัวได้อย่างปลอดภัย[60]
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544 ขณะการซ้อมบินระดับต่ำเหนือสกอตแลนด์ เอฟ-15ซีสองลำของกองทัพอากาศสหรัฐได้ตกลงใกล้กับยอดเขาแห่งหนึ่ง[61] นักบินทั้งสองเสียชีวิตในอุบัติเหตุซึ่งต่อมาส่งผลต้องนำตัวผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศของกองทัพอากาศอังกฤษไปขึ้นศาล แต่เขาก็บริสุทธิ์ [62]
ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15ซีตกลงขณะทำการซ้อมรบใกล้กับเซนท์หลุยส์รัฐมิสซูรี นักบินดีดตัวได้แต่ได้รับบาดเจ็บสาหัส การตกมาจากโครงสร้างที่เกิดเสียหายขณะทำการบิน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15 ทั้งหมดถูกระงับการบินหลังจากทำการสืบสวนหาสาเหตุของการตก[63] และวันต่อมาก็ได้ทำการระงับเอฟ-15 ที่ทำการรบอยู่ในตะวันออกกลาง[64] เมื่อถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15 มากกว่า 1,100 ลำถูกระงับการบินทั่วโลกเช่นเดียวกับอิสราเอล ญี่ปุ่น และซาอุดิอาระเบีย[65] เอฟ-15 ได้รับการอนุญาตให้บินขึ้นอีกครั้งในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[66] ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 กองทัพอากาศสหรัฐให้เครื่องเอฟ-15เอ-ดี 60% กลับไปทำการบินได้[43] ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551 มีการเปิดเผยว่าเกิดจากโครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน[44] กองทัพอากาศอนุญาตให้เอฟ-15เอ-ดีทั้งหมดขึ้นบินอีกครั้งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[46] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 นักบินที่ได้รับบาดเจ็บได้ทำการฟ้องบริษัทโบอิงที่ผลิตเอฟ-15[67]
[แก้] รายละเอียด เอฟ-15ซี อีเกิล
ลูกเรือ นักบิน 1 นาย
ความยาว 19.43 เมตร
ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสองข้าง 13.05 เมตร
ความสูง 5.63 เมตร
พื้นที่ปีก 56.5 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า 12,700 กิโลกรัม
น้ำหนักบรรทุก 20,200 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 30,845 กิโลกรัม
ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์แอนด์วิทนีย์ เอฟ100-100 -220 หรือ -229 จำนวน 2 เครื่อง เมื่อใช้สันดาปท้ายจะให้กำลังเครื่องละ 25,000 ปอนด์สำหรับ -220 และ 29,000 ปอนด์สำหรับ -229
ความเร็วสูงสุด
ระดับสูง 2.5 มัค (2,660 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ระดับต่ำ 1.2 มัค (1,450 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
รัศมีทำการรบ 1,967 กิโลเมตร
ระยะทำการขนส่ง 5,550 กิโลเมตร (มีถังเชื้อเพลิงเพิ่ม)
เพดานบินทำการ 65,000 ฟุต
อัตราการไต่ระดับ 50,000 ฟุตต่อนาที
บินทน: 5.25 ขั่วโมง เมื่อไม่ได้เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และ 9.7 ชั่วโมง เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
อาวุธ
ปืน ปืนแกทลิ่งเอ็ม61เอ1 ขนาด 20 ม.ม.หนึ่งกระบอกพร้อมกระสุน 960 นัด
ขีปนาวุธ เอไอเอ็ม-7เอฟ สแปร์โรว์ เอไอเอ็ม-120 แอมแรม เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์
[68][69][70][71][72]

ต้นกำเนิด
ในปีพ.ศ. 2510 หน่วยข่าวกรองสหรัฐประหลาด[2] เมื่อรู้ว่าสหภาพโซเวียตกำลังสร้างเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่ามิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25[3] ในตอนนั้นทางฝั่งตะวันตกไม่รู้ว่ามิก-25 ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องบินสกัดกั้นความเร็วสูง (ไม่ใช่เครื่องบินครองความได้เปรียบทางอากาศ)[4] ดังนั้นจุดเด่นของมันคือความเร็วไม่ใช่ความคล่องตัว หางที่ใหญ่ของมิก-25 นั้นทำให้เครื่องบินบางลำของสหรัฐเสียเปรียบ มันทำให้กองทัพอากาศกลัวว่ามันจะทำงานได้ดีกว่าเครื่องบินของอเมริกา ในความเป็นจริงครีบและหางที่ใหญ่ของมิก-25 มีไว้เพื่อจัดการกับความเฉื่อยในการบินด้วยความเร็วสูงและระดับสูง

เอฟ-4 แฟนทอม 2 ของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐเป็นเครื่องบินขับไล่แบบเดียวที่มีกำลังและความคล่องตัวพอที่จะจัดการกับภัยคุกคามจากเครื่องบินขับไล่ของโซเวียต[3] ตามนโยบายแฟนทอมนั้นไม่สามารถปะทะกับเป้าหมายโดยที่ยังไม่เห็นอย่างจัดเจนได้ ดังนั้นพวกมันจึงไม่สามารถจัดการกับเป้าหมายในระยะไกลได้ตามที่ถูกออกแบบมา ขีปนาวุธพิสัยกลางเอไอเอ็ม-7 สแปร์โวร์และแม้กระทั่งเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ก็ไม่มีประสิทธิภาพในระยะใกล้ซึ่งพบว่าปืนมักเป็นอาวุธที่ดีกว่าในระยะดังกล่าว[5] เดิมทีแฟนทอมไม่มีปืนแต่ประสบการณ์จากสงครามเวียดนามทำให้ต้องเพิ่มปืน เข้าไป ปืนถูกติดเข้าไปที่ด้านนอกและต่อมาเอ็ม61 วัลแคนก็ถูกใช้กับเอฟ-4อี

[แก้] โครงการเอฟ-เอ็กซ์
มีความต้องการเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ซึ่งจะขจัดข้อจำกัดในการต่อสู้ระยะใกล้ของแฟนทอมในขณะที่ยังคงมีความสามารถในระยะไกล หลังจากปฏิเสธโครงการวีเอฟเอ็กซ์ของกองทัพเรือสหรัฐ (ซึ่งนำไปสู่เอฟ-14 ทอมแคท) กองทัพอากาศสหรัฐประกาศความต้องการของตนสำหรับเครื่องบินขับไล่ทดลองหรือเอฟเอ็กซ์ (Fighter Experimental, F-X) เป็นความต้องการเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรีบทางอากาศน้ำหนักเบา[6] เครื่องบินขับไล่ที่ว่านั้นต้องมีที่นั่งเดียวโดยมีน้ำหนักสูงสุดตอนวิ่งขึ้น 18,100 กิโลกรัม สำหรับบทบาทอากาศสู่อากาศมีความเร็วสูงสุดที่ 2.5 มัค[7] บริษัททั้งสี่ทำการยื่นข้อเสนอโดยไม่เลือกเจเนรัล ไดนามิกส์และทำสัญญากับแฟร์ไชลด์ รีพับลิก นอร์ท อเมริกัน เอวิเอชั่น และแมคดอนเนลล์ ดักลาส บริษัททั้งหมดยื่นข้อเสนอทางเทคนิคในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2512 กองทัพอากาศได้ประกาศการเลือกแมคดอนเนลล์ ดักลาสในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2512[8] แบบที่เลือกนั้นคือเอฟ-14 ที่มีหางแฝดแต่ปีกที่พับไม่ได้ มันไม่ได้เบาหรือเล็กไปกว่าเอฟ-4 ที่มันจะเข้ามาแทนที่เสียทีเดียว


ห้องนักบินของเอฟ-15เอรุ่นแรกของอีเกิลใช่ชื่อว่าเอฟ-15เอสำหรับแบบหนึ่งที่นั่งและเอฟ-15บีสำหรับแบบสองที่นั่ง แบบเหล่านี้ใช้เครื่องยนต์แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์เอฟ100 เพื่อให้ได้อัตราแรงขับต่อน้ำหนักที่ดี ด้วยปืนใหญ่อากาศจีเอยู-7 ขนาด 25 ม.ม.พร้อมกระสุนไร้ปลอกถูกเปลี่ยนไปเป็นเอ็ม61 วัลแคนเนื่องจากปัญหาในการพัฒนา เอฟ-15 มีที่ตั่งสแปร์โรว์ที่ตำบลเช่นเดียวกับแฟนทอม ปีกของมันถูกทำให้แบนราบ ลำตัวที่กว้างยังให้พื้นผิวการยกที่ดี มีคำถามเกี่ยวกับการที่มันไม่สามารถต่อกรกับมิก-25 ที่บินสูงได้ แต่ความสามารถของมันก็ถูกเปิดเผยในการรบ

เอฟ-15เอทำการบินครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2515 พร้อมกับการบินของเอฟ-15บีเดือนเดียวกันในปีพ.ศ. 2516[9]

เอฟ-15 มีเรดาร์จับเป้าแล้วยิงที่สามารถจับเป้าหมายที่บินในระดับต่ำ เอฟ-15 จะใช้คอมพิวเตอร์พร้อมการควบคุมและการแสดงผลแบบใหม่เพื่อลดการทำงานของนักบินและใช้นักบินเพียงหนึ่งนายเท่านั้น ไม่เหมือนกับเอฟ-14 หรือเอฟ-4 เอฟ-15 นั้นมีกรอบห้องนักบินเพียงอันเดียวทำให้มีมุมมองที่ชัดเจน กองทัพอากาศสหรัฐนำเสนอมันเป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศที่ดีหลังจากเอฟ-86 เซเบอร์[10]

เอฟ-15 เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าอย่างกองทัพอากาศอิสราเอลและกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น และการพัฒนาของเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลได้ก่อให้เกิดเครื่องบินขับไล่โจมตีซึ่งได้เข้ามาแทนที่เอฟ-111 อย่างไรก็ตามมรการวิจารณ์จากกลุ่มมาเฟียเครื่องบินขับไล่ที่ว่าเอฟ-15 มีขนาดใหญ่เกินไปที่จะเหมาะกับการต่อสู้ที่ชุลมุน และแพงเกินไปที่จะจัดซื้อในจำนวนมากเพื่อแทนที่เอฟ-4 และเอ-7 จึงนำไปสู่โครงการแอลดับบลิวเอฟหรือเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา ซึ่งก่อให้เกิดเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนและเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทของกองทัพเรือ

[แก้] การพัฒนาเพิ่มเติม

เอฟ-15ซีของกองทัพอากาศสหรัฐเอฟ-15ซีหนึ่งที่นั่งและเอฟ-15ดีสองที่นั่งได้เข้าสู่การผลิตในปีพ.ศ. 2521 ด้วยการบินครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์และมิถุนายนในปีเดียวกัน[11] รุ่นใหม่นี้มีการพัฒนาชุดพีอีพี 2000 (Production Eagle Package, PEP 2000) รวมทั้งเชื้อเพลิงภายในเพิ่มอีก 900 กิโลกรัม การจัดหาถังเชื้อเพลิงภายนอกและน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดที่ 30,700 กิโลกรัม[12]

โครงการการพัฒนาหลายระยะหรือเอ็มเอสไอพี (Improvement Program,MSIP) ของเอฟ-15 เริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 พร้อมการผลิตครั้งแรกเป็นเอฟ-15ซีในปีพ.ศ. 2528 การพัฒนารวมทั้งคอมพิวเตอร์ การควบคุมอาวุธที่ตั้งโปรแกรมได้สำหรับเอไอเอ็ม-7 เอไอเอ็ม-9 และเอไอเอ็ม-120 และระบบสงครามอิเลคทรอนิกทางยุทธวิธีซึ่งพัฒนาเป็นเรดาร์เตือนภัยรุ่นเอแอลอาร์-56ซีและชุดตอบโต้เอแอลคิว-135 มีการเพิ่มเรดาร์เอพีจี-70 ซึ่งใช้ไปจนถึงเอฟ-15อี เอฟ-15ซีของเอ็มเอสไอพีก่อนหน้านี้ที่ใช้เรดาร์เอพีจี-63 ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นเอพีจี(วี)1 ซึ่งไว้ใจได้และดูแลรักษาได้ง่ายกว่าในขณะที่ยังทำงานได้ใกล้เคียงกับเอพีจี-70 การพัฒนา[13]

การพัฒนาล่าสุดคือการปรับแต่งเอฟ-15ซีจำนวน 178 ลำให้ใช้เรดาร์เออีเอสเอรุ่นเอเอ็น/เอพีจี-63(วี)3 พร้อมส่งมอบต้นปีพ.ศ. 2552[14] นอกจากนี้กองทัพอากาศยังได้วางแผนที่จะพัฒนาเอฟ-15 ลำอื่นๆ ด้วยระบบหมวกพิเศษ[15]

[แก้] การออกแบบ
เอฟ-15 มีลำตัวที่ทำจากเหล็กทั้งหมดพร้อมกับปีกขนาดใหญ่ ส่วนหางของเครื่องบินนั้นทำมาจากเหล็กทั้งหมดเช่นกันและหางเสือก็เป็นแบบผสม เอฟ-15 มีเบรกอากาศที่ด้านหลังห้องนักบินและล้อลงจอดที่สามารถพับเก็บได้ มันมีเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ100 สองเครื่องยนต์ติดตั้งอยู่ที่สองข้างของลำตัว ห้องนักบินอยู่ในตำแหน่งที่สูงไปทางด้านหน้าของลำตัวพร้อมกับกระจกและฝาครอบขนาดใหญ่

ความคล่องตัวของเอฟ-15 มาจากน้ำหนักปีกที่ต่ำพร้อมกับอัตราแรงขับต่อน้ำหนักที่สูงทำให้เครื่องบินเลี้ยววงแคบได้โดยไม่สูญเสียความเร็ว เอฟ-15 สามารถบินได้สูงได้ถึง 30,000 ฟุตใน 60 วินาที แรงขับจากทั้งสองเครื่องยนต์นั้นมากกว่าน้ำหนักของเครื่องบิน ดังนั้นจึงให้ความสามารถในการเร่งในตอนที่ไต่ระดับในแนวตั้ง ระบบควบคุมอาวุธและการบินถูกออกแบบมาให้นักบินเพียงคนเดียวก็สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยและต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[6] รุ่นเอและซีเป็นแบบสองที่นั่ง รุ่นบีและดีเป็นรุ่นสองที่นั่งสำหรับการฝึก รุ่นอีนั้นที่นั่งที่สองเป็นของคนนำร่องหรือผู้ใช้อาวุธ

ระบบอิเลคทรอนิกอากาศหลายภารกิจรวมทั้งหน้าจอเฮด-อัพหรือฮัด (head-up display, HUD) เรดาร์ ระบบนำเฉื่อย (inertial guidance system, INS) ไฟ การสื่อสารด้วยคลื่นยูเอชเอฟ และการนำร่องอากาศทางยุทธวิธีหรือทาแคน (Tactical Air Navigation, TACAN) และระบบลงจอด มันยังมีระบบสงครามอิเลคทรอนิกทางยุทธวิธี ระบบระบุฝ่าย ชุดตอบโต้อิเลคทรอนิก และคอมพิวเตอร์ดิจิตอลกลาง[16]


เอฟ-15อีจากฐานทัพอากาศเอลเมนดอร์ รัฐอลาสก้าหน้าจอฮัดถูกฉายออกมาจากตัวผสม ระบบการบินที่สำคัญทั้งหมดรวบรวมโดยระบบอิเลคทรอนิกร่วม หน้าจอนี้จะแสดงสภาพแสงทำให้นักบินได้รับข้อมูลที่จำเป็นในการติดตามและทำลายอากาศยานของศัตรูโดยไม่ต้องก้มหน้ามองที่อุปกรณ์อื่น[17]

ระบบเรดาร์พัลส์รุ่นเอพีจี-30/70 ที่มีประโยชน์ของเอฟ-15 สามารถมองขึ้นไปยังข้าศึกที่บินอยู่สูงและมองลงไปยังข้าศึกที่บินอยู่ต่ำได้โดยไม่สับสนกับภาคพื้นดิน มันสามารถตรวจจับและติดตามเครื่องบินและเป้าหมายขนาดเล็กที่เคลื่อนที่เร็วในระยะที่สายตาไม่สามารถมองเห็นได้ เรดาร์จะป้อนข้อมูลของเป้าหมายเข้าไปในคอมพิวเตอร์กลางเพื่อยิงอาวุธ ความสามารถในการล็อกเป้าหมายในระยะ 50 กิโลเมตรด้วยเอไอเอ็ม-120 แอมแรมที่สามารถจัดการเป้าหมายที่เกินระยะสายตาได้อย่างแน่นอน สำหรับการต่อสู้ระยะใกล้เรดาร์จะทำการจับเป้าหมายโดยอัตโนมัติ และข้อมูลนี้จะถูกฉายขึ้นที่หน้าจอฮัด ระบบสงครามอิเลคทรอนิกของเอฟ-15 ให้ทั้งการเตือนภัยและตอบโต้โดยอัตโนมัติ[18]


เอฟ-15อีที่ใช้เบรกอากาศและใช้ถังเชื้อเพลิงพิเศษ.เอฟ-15 สามารถใช้อาวุธอากาศสู่อากาศที่หลากหลาย ระบบอาวุธทำให้นักบินทำการต่อสู้ทางอากาศได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้หน้าจอฮัดและระบบอิเลคทรอนิกอากาศและการควบคุมอาวุธที่อยู่ที่คันบังคับด้านหน้า เมื่อนักบินเปลี่ยนจากระบบอาวุธหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง การนำวิถีจะแสดงขึ้นบนหน้าจอฮัด[19]

เอฟ-15 สามารถติดอาวุธที่แตกต่างกันได้สี่อย่างด้วยกัน ได้แก่ เอไอเอ็ม-7เอฟ/เอ็ม สแปร์โรว์หรือเอไอเอ็ม-120 แอมแรมที่ลำตัวส่วนต่ำ เอไอเอ็ม-9แอล/เอ็ม ไซด์ไวน์เดอร์หรือเอไอเอ็ม-120 ที่ใต้ปีก และปืนแกทลิ่งเอ็ม61เอ-1 ขนาด 20 ม.ม.ที่ฐานปีกด้านขวา[20]

ถังเชื้อเพลิงพิเศษถูกพัฒนามาเพื่อเอฟ-15ซีและดี พวกมันสามารถติดเข้ากับด้านข้างช่องรับลมของเครื่องยนต์ใต้ปีกแต่ละข้าง[20] อย่างไรก็ตามพวกมันลดการทำงานโดยการเพื่อแรงฉุดและไม่สามารถปลดออกได้ขณะบิน ถังเชื้อเพลิงแต่ละถังสามารถจุดเชื้อเพลิงได้ 2,840 ลิตร[21] ถังเหล่านี้เพิ่มพิสัยซึ่งลดการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ ทุกจุดติดตั้งของอาวุธสามารถติดถังเชื้อเพลิงได้ นอกจากนี้ขีปนาวุธสแปร์โรว์หรือแอมแรมสามารถติดตั้งกับมุมของถังได้[12]


เอ็ม61 วัลแคนตอดตั้งอยู่ที่โคนปีกด้านขวาข้างช่องรับลมเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลเป็นแบบสองที่นั่ง สองบทบาท เป็นเครื่องบินขับไล่ทุกสภาพอากาศ สามารถทำภารกิจจู่โจมลึกและต่อสู้ทางอากาศได้ ห้องนักบินที่ด้านหลังถูกพีฒนาด้วยหน้าจอซีอาร์ทีอเนกประสงค์สี่จอสำหรับจัดการระบบและอาวุธของเครื่องบิน ระบบควบคุมการบินแบบดิจิตอลจะบินตามพื้นผิวภูมิประเทศโดยอัตโนมัติ ด้วยการใช้ระบบเลเซอร์ไจโร[22] สำหรับการบินในระดับต่ำด้วยความเร็วสูงเพื่อโจมตีเป้าหมายทั้งในตอนกลางคืนหรือกลางวันในทุกสภาพอากาศเอฟ-15อีจะใช้เรดาร์เอพีจี-70 และระบบแลนเทิร์น[18]

เรดาร์เออีเอสเอรุ่นเอพีจี-63(วี)2 ถูกติดตั้งในเอฟ-15ซีของกองทัพอากาศสหรัฐ[23] การพัฒนานี้รวมทั้งฮาร์ดแวร์ใหม่เกือบทั้งหมดจากเอพีจี-63(วี)1 แต่เพิ่มเออีเอสเอเพื่อเพิ่มการระวังตัวของนักบิน เรดารเออีเอสเอให้ลำแสงที่ไวทำให้มีการติดตามเป้าหมายแทบจะในทันที เอพีจี-63(วี)2 ทำงานร่วมกับอาวุธของเอฟ-15ซีและทำให้นักบินสามารถใช้ข้อได้เปรียบจากความสามารถของเอไอเอ็ม-120 แอมแรม

[แก้] ประวัติการใช้งาน

เอฟ-15ดีจากฐานทัพอากาศทินดัลล์กำลังปล่อยพลุผู้ที่ใช้งานเอฟ-15 มากที่สุดคือกองทัพอากาศสหรัฐ เอฟ-15 ลำแรก (แบบบี) ถูกส่งมอบครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517[24] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 เอฟ-15 ลำแลกถูกมอบให้กับฝูงบินขับไล่ที่ 555[24] เครื่องบินลำแรกๆ ได้ใช้เรดาร์เอพีจี-63 ของฮิวจ์ส แอร์คราฟท์

เอฟ-15 ทำแต้มครั้งแรกในปีพ.ศ. 2522 โดยกองทัพอากาศอิสราเอล[25] ในปีพ.ศ. 2522-2524 ในช่วงความขัดแย้งตามชายแดนของเลบานอนกับอิสราเอล เอฟ-15เอได้ยิงมิก-21 13 ลำและมิก-25 สองลำของซีเรียตก เอฟ-15เอและบีถูใช้โดยอิสราเอลในปฏิบัติการหุบเขาเบก้า ในสงครามเลบานอนเมื่อปีพ.ศ. 2525 เอฟ-15 ของอิสราเอลได้ยิงเครื่องบินขับไล่ 40 ลำของซีเรียตก (มิก-21 23 ลำและมิก-23 17 ลำ) และเฮลิคอปเตอร์เอสเอ.342แอลหนึ่งลำ[26] ต่อมาในปีพ.ศ. 2528 เอฟ-15 ของอิสราเอลในปฏิบัติการวู้ดเลคได้ทิ้งระเบิดใส่ฐานบัญชาการของกลุ่มพีแอลโอในตูนีเซีย [27]

นักบินเอฟ-15ซีของกองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียได้ยิงเอฟ-4อี แฟนทอม 2 สองลำของอิหร่านตกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527 และได้ยิงดัซโซลท์ มิราจ เอฟ1 สองลำของอิรักตกในสงครามอ่าว[28][29][30]

กองทัพอากาศสหรัฐได้ใช้เอฟ-15ซี ดี และอีในสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อปีพ.ศ. 2534 เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการพายุทะเลทรายที่ซึ่งพวกมันได้รับชัยชนะทางอากาศ 36 ครั้งจากทั้งหมด 39 ครั้ง เอฟ-15อีถูกใช้ในตอนกลางคืนเป็นหลักโดยตามล่าหาขีปนาวุธสกั๊ดและตำแหน่งปืนใหญ่[31] ตามที่กองทัพอากาศกล่าวเอฟ-15ซีได้ทำการสังหารเครื่องบินของอิรักไป 34 ครั้งในสงครามเมื่อปีพ.ศ. 2534 โดยส่วนใหญ่ใช้ขีปนาวุธ มีมิก-29 ห้าลำ มิก-25 สองลำ มิก-23 แปดลำ มิก-21 สองลำ ซู-25 สองลำ ซู-22 สี่ลำ ซู-7 มิราจ เอฟ1 หนึ่งลำ อิล-76 หนึ่งลำ พีซี-9 หนึ่งลำ และเฮลิคอปเตอร์เอ็มไอ-8 สองลำ หลังจากครองความได้เปรียบทางอากาศสำเร็จในสามวันแรก เครื่องบินของอิรักเริ่มหนีไปทางหร่านมากกว่าเผชิญหน้ากับฝ่ายอเมริกา เอฟ-15ซีถูกใช้สำหรับการครองอากาศและเอฟ-15อีถูกใช้เพื่อโจมตีเป้าหมายบนพื้นดินอย่างหนักหน่วง เอฟ-15อีได้ทำการสังหารทางอากาศโดยเป็นเฮลิคอปเตอร์เอ็มไอ-8 ของอิรักโดยใช้ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ เอฟ-15อีสูญเสียไปสองลำในปีพ.ศ. 2534 จากการยิงจากบนพื้น[32] อีกลำได้รับความเสียหายบนพื้นจากการยิงของขีปนาวุธสกั๊ดใส่ฐานบินในดาราน[33]

พวกมันถูกใช้สนับสนุนปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอชท์โดยทำการลาดตระเวนในเขตห้ามบินเหนืออิรัก ในปฏิบัติการโพรไวด์คอมฟอร์ทในตุรกี เพื่อสนับสนุนนาโต้ที่ปฏิบัติการในบอสเนีย ในปีพ.ศ. 2537 ยูเอช-60 แบล็คฮอว์คสองลำของสหรัฐถูกยิงตกโดยเอฟ-15 ซีผู้ที่คิดว่าเฮลิคอปเตอร์ทั้งสองลำเป็นของอิรักที่เข้ามาในเขตห้ามบิน[34] เอฟ-15ซีได้ยิงมิก-29 สี่ลำของยูโกสลาเวียตกโดยใช้เอไอเอ็ม-120 แอมแรมในปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซในโคโซโว[32]

เอฟ-15 ในทุกกองทัพอากาศได้ทำการรบทางอากาศที่สังหารไป 104 ลำโดยไม่สูญเสียเลยสักลำในสถิติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[35] ปัจจุบันไม่มีเอฟ-15 (เอ/บี/ซี/ดี) ถูกยิงตกโดยศัตรู มากกว่าครึ่งของการสังหารทั้งหมดทำโดยนักบินของกองทัพอากาศอิสราเอล

[แก้] นักทำลายดาวเทียม

การทดสอบยิงเอเอสเอ็ม-135 เอแซทตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2527 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2529 เอฟ-15เอสองลำได้ถูกใช้เป็นแท่นยิงขีปนาวุธต่อต้านดาวเทียมเอเอสเอ็ม-135 เอฟ-15เอ (หมายเลข 76-0086 และ 77-0084) ถูกดัดแปลงให้บรรทุกเอเอสเอ็ม-135 หนึ่งลูกที่ส่วนกลางพร้อมกับอุปกรณ์พิเศษ[36] มันทำความเร็วได้ 1.22 มัคเป็นแรง 3.8 จีทำมุม 65 องศาขึ้นไปเพื่อปล่อยขีปนาวุธเอแซทที่ความสูง 38,100 ฟุต[37][38] คอมพิวเตอร์การบินถูกพัฒนาให้ควบคุมการไต่ระดับและปล่อยขปีนาวุธ การบินทดสอบครั้งที่สามเกี่ยวข้องกับดาวเทียมสื่อสารที่ปลดประจำการแล้วซึ่งอยู่ในวงโคจรห่างออกไป 555 กิโลเมตร ซึ่งถูกทำลายโดยพลังงานจลน์[37] นักบินวิลเบิร์ต ดี. เพียร์สันเป็นนักบินเพียงคนเดียวที่ได้ทำลายดาวเทียม[38][39]

ขีปนาวุธเอแซทถูกออกแบบมาเพื่อทำลายดาวเทียมจากระยะไกล ด้วยการทำงานกับเอฟ-15เอเป็นครั้งแรก สหภาพโซเวียตอาจสามารถร่วมกับการปล่อยจรวดของสหรัฐด้วยการสูญเสียดาวเทียมสอดแนม แต่เอฟ-15 ที่มีเอแซทจะสามารถแฝงตัวร่วมกับเที่ยวบินนับร้อยของเอฟ-15ได้ โครงการเอแซททำการทดสอบทั้งสิ้นห้าครั้ง โครงการถูกยุบอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2531[36][38]

[แก้] ข้อบกพร่องทางด้านโครงสร้าง
เอฟ-15 ทั้งหมดถูกงดใช้งานโดยกองทัพอากาศสหรัฐหลังจากที่เอฟ-15ซีสองลำจากกองกำลังรักษาดินแดนรัฐมิสซูรี ได้ทำการบินและตกในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15อีที่ใหม่กว่านั้นได้รับอนุญาตให้ทำภารกิจได้ต่อหลังจากนั้น กองทัพอากาศสหรัฐได้รายงานในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ว่าโครงสร้างส่วนบกของเอฟ-15 นั้นเป็นต้นเหตุของปัญหา ทำให้โครงสร้างลำตัวส่วนหน้าช่องรับลมรวมทั้งห้องนักบินแยกออกจากโครงสร้างหลัก[40]

เอฟ-15เอถึงดีถูกสั่งให้ระงับการบินจนกระทั่งปัญหาจะถูกแก้ไขเรียบร้อย[41] เอฟ-15 ที่ถูกระงับเริ่มได้รับความสนใจจากสื่อเมื่อมันเริ่มสร้างความน่าหวั่นใจในการป้องกันทางอากาศของสหรัฐ[42] กองกำลังที่ถูกระงับในบางรัฐต้องพึ่งพาเครื่องบินของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการป้องกัน และที่อลาสก้านั้นต้องพึ่งการป้องกันจากกองกำลังของแคนาดา[42]

ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 กองบัญชาการการรบทางอากาศของสหรัฐได้ประกาศการกลับมาทำงานของเอฟ-15เอถึงดี มันยังได้รับคำแนะนำให้บินอย่างจำกัดในทั่วโลกสำหรับรุ่นที่อาจมีได้รับผลกระทบ[43] การรายงานถึงอุบัติเหตุได้เกิดขึ้นในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยกล่าวว่าการตรวจสอบซากของเอฟ-15ซีได้เปิดเผยว่าโครงสร้างที่มีปัญหาไม่ได้หลักมาตรฐาน ซึ่งทำไปสู่การแตกร้าวและทำให้โครงสร้างที่เหลือพังในขณะทำการบิน[44] ในการรายงานเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551 เอฟ-15 เก้าลำถูกระบุว่ามีปัญหาเดียวกัน ดังนั้นนายพลจอห์น ดี. ดับบลิว. คอร์ลีย์จึงกล่าวว่าอนาคตระยะยาวของเอฟ-15 นั้นเริ่มไม่น่าไว้ใจ[45] ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 กองบัญชาการการรบทางอากาศได้เปิดทางให้กับเอฟ-15เอ-ดีทั้งหมดให้ทำการบินได้หลังจากซ่อมแซมแล้ว [46]

[แก้] อนาคต
เอฟ-15ซี/ดีถูกแทนที่โดยเอฟ-22 แร็พเตอร์ เอฟ-15อีนั้นยังคงประจำการไปอีกหลายปีเพราะบทบาทโจมตีที่แตกต่างและโครงสร้างที่ยังมีอายุการใช้งานน้อยของมัน[1] กองทัพอากาศสหรัฐจะพัฒนาเอฟ-15ซี 178 ลำให้ใช้เรดาร์เออีเอสอีรุ่นเอเอ็น/เอพีจี-63(วี)3[14] และพัฒนาเอฟ-15 ลำอื่นๆ ให้ใช้หมวกพิเศษ[15] กองทัพอากาศจะเก็บเอฟ-15ซี 178 ลำและเอฟ-15อี 224 ลำเอาไว้จนถึงปีพ.ศ. 2568[1]

[แก้] แบบต่างๆ
[แก้] แบบพื้นฐาน
เอฟ-15เอ
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่ง สร้างออกมา 384 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2522[47]
เอฟ-15บี
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก เดิมทีใช้ชื่อทีเอฟ-15เอ สร้างออกมา 61 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2522[47]
เอฟ-15ซี
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่งที่ได้รับการพัฒนาเพิ่ม สร้างออกมา 483 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-2528[47]
เอฟ-15ดี
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก สร้างออกมา 92 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-2528[47]
เอฟ-15เจ
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่งสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น สร้างออกมา 139 ลำภายใต้ใบอนุญาตโดยมิตซูบิชิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524-2540 สร้างในเซนต์หลุยส์[47]
เอฟ-15ดีเจ
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึกของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น สร้างออกมา 25 ลำในญี่ปุ่นโดยมิตซูบิชิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524-2540 ในเซนท์หลุยส์[47]
เอฟ-15เอ็น ซีอีเกิล
แบบสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินที่ยื่นข้อเสนอในทษวรรษที่ 1970 ให้กับกองทัพเรือสหรัฐ เอฟ-15เอ็น-พีเอชเอ็กซ์เป็นอีกข้อเสนอสำหรับการใช้ขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ จุดเด่นเหล่านี้คือปลายปีก อุปกรณ์ลงจอดพิเศษ และตะขอที่หางเพื่อการลงจอดบนเรือ[48]
เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล
ดูที่เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลสำหรับเอฟ-15อี เอฟ-15ไอ เอฟ-15เอส เอฟ-15เค เอฟ-15เอสจี เอฟ-15เอสอี และเอฟ-15อีแบบอื่นๆ
[แก้] แบบการวิจัยและทดสอบ
เอฟ-15 สตรีคอีเกิล (72-0119)
เป็นเอฟ-15เอที่ใช้เพื่อสาธิตการเร่งความเร็วของเครื่องบิน มันได้ทำลายสถิติการไต่ระดับด้วยเวลาไป 8 ครั้งระหว่างวันที่ 16 มกราคมและ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มันถูกส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523[49]
เอฟ-15 เอส/เอ็มทีดี (71-0290)
เป็นเอฟ-15บีลำแรกที่ถูกดัดแปลงให้วิ่งขึ้นและลงจอดในระยะสั้น มันเป็นเครื่องบินสาธิตเทคโนโลยีกระบวนท่า[50] ในปลายทศวรรษที่ 1980 มันได้รับการติดตั้งปีกเสริมพร้อมกับท่อไอเสียทรงสี่เหลี่ยม มันใช้เทคโนโลยีกระบวนท่าและวิ่งขึ้นระยะสั้นหรือเอสเอ็มทีดี (short-takeoff/maneuver-technology, SMTD) [51]
เอฟ-15 แอคทีฟ (71-0290)
เอฟ-15 เอส/เอ็มทีดีที่ต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินวิจัยเทคโนโลยีควบคุมการบิน[50]
เอฟ-15 ไอเอฟซีเอส (71-0290)
เอฟ-15 แอคทีฟต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินวิจัยระบบควบคุมการบินด้วยปัญญาประดิษฐ์ เอฟ-15บี หมายเลขเครื่อง 71-0290 เป็นเอฟ-15 ที่ยังทำการบินอยู่โดยมีอายุมากที่สุดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551[51]
เอฟ-15 เอ็มเอเอ็นเอ็กซ์
เป็นชื่อของเอฟ-15 แอคทีฟที่ไม่มีหาง แต่ก็ไม่เคยถูกสร้างขึ้นมา
เอฟ-15 สำหรับวิจัยการบิน (71-0281 และ 71-0287)
เอฟ-15เอสองลำถูกใช้ทดลองโดยศูนย์วิจัยการบินดรายเดนของนาซ่า การทดลองรวมทั้ง การควบคุมอิเลคทรอนิกดิจิตอลรวมหรือไฮเดก (Highly Integrated Digital Electronic Control, HiDEC) ระบบควบคุมเครื่องยนต์หรือเอเดกส์ (Adaptive Engine Control System, ADECS) ระบบควบคุมการบินค้นหาและซ่อมแซมตัวเองหรือเอสอาร์เอฟซีเอส (Self-Repairing and Self-Diagnostic Flight Control System, SRFCS) และระบบเครื่องบินควบคุมการเคลื่อนที่หรือพีซีเอ (Propulsion Controlled Aircraft System, PCA)[52] เครื่องหมายเลข 71-0281 ถูกส่งกลับให้กองทัพอากาศและถูกนำไปจัดแสดงที่ฐานทัพอากาศแลงลีย์ในปีพ.ศ. 2526
เอฟ-15บี รีเซิร์จเทสท์เบด (74-0141)
ในปีพ.ศ. 2536 เอฟ-15บีลำหนึ่งถูกดัดแปลงและใช้โดยนาซ่าเพื่อทำการทดสอบการบิน[53]
[แก้] ประเทศผู้ใช้งาน
สำหรับแบบที่มาจากเอฟ-15อีดูที่เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล

อิสราเอล
กองทัพอากาศอิสราเอลใช้เอฟ-15 มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 ในปัจจุบันเครื่องบินเหล่านี้จัดเป็นเอฟ-15/เอบีสองฝูงบินและเอฟ-15ซี/ดี หนึ่งฝูงบิน เอฟ-15เอ/บี 15 ลำแรกมีโครงสร้างที่ผลิตโดยสหรัฐอเมริกา[25] การส่งครั้งที่สองถูกหยุดชั่วคราวเพราะได้รับผลกระทบจากสงครามเลบานอน [54]
ญี่ปุ่น
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่นได้รับเอฟ-15เจ 202 ลำและเอฟ-15ดี 20 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 ซึ่งเอฟ-15เจสองลำและเอฟ-15ดีเจ 12 ลำถูกสร้างขึ้นในสหรัฐและที่เหลือถูกสร้างโดยมิตซูบิชิ ในปัจจุบันเครื่องบินเหล่านี้ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 กองกำลังป้องกันทางอากาศได้ตัดสินใจที่จะพัฒนาเอฟ-15 ให้ใช้กระเปาะเรดาร์สังเคราะห์ เครื่องบินเหล่านี้จะถูกแทนที่โดยอาร์เอฟ-4 ที่ในปัจจุบันอยู่ในประจำการ[55]
ซาอุดีอาระเบีย
กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียมีเอฟ-15ซี/ดี 4 ฝูงบินตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 พวกมันประจำการอยู่ที่ฐานบินในดาราน คามิสมูเชท และทาอิฟ
สหรัฐอเมริกา
กองทัพอากาศสหรัฐมีเอฟ-15 630 ลำในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551[56] เอฟ-15 นั้นกำลังจะถูกแทนที่โดยเอฟ-22 แร็พเตอร์
[แก้] เหตุการณ์และอุบัติเหตุครั้งสำคัญ
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ขณะที่กองทัพอากาศอิสราเอลกำลังทำการซ้อมรบทางอากาศ เอฟ-15ดีหนึ่งลำได้ชนเข้ากับเอ-4 สกายฮอว์ค นักบินซิวิ เนดิวิและนักบินร่วมของเขาไม่รู้ว่าปีกของเอฟ-15นั้นถูกฉีกออกสองฟุตจากตัวถัง เอฟ-15 หมุนอย่างควบคุมไม่ได้หลังจากถูกชน ซิวิตัดสินใจที่จะพยายามควบคุมเครื่องและใช้สันดาปท้ายเพื่อเพิ่มความเร็ว ทำให้เขาควบคุมเครื่องได้อีกครั้ง เพราะว่าการยกตัวที่เกิดจากพื้นที่ผิวหน้าขนาดใหญ่ของตัวถัง ปีหส่วนหาง และพื้นที่ปีกที่เหลือ เอฟ-15 ได้ลงจอดด้วยความเร็วสองเท่าจากปกติเพื่อสร้างแรงยกและตะขอที่หางของมันหลุดออกไปในตอนที่ลงจอด นักบินสามารถหยุดเอฟ-15 6 เมตรก่อนสุดทางวิ่ง ต่อมาเขาได้กล่าวว่า "ผมน่าจะดีดตัวออกมาถ้ารู้ว่ามันเกิดขึ้น"[57][58]
ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 เอฟ-15 ลำหนึ่งที่ฐานทัพอากาศเอลเมนดอล์ฟ ได้เกิดยิงเอไอเอ็ม-9เอ็มใส่เอฟ-15 อีกลำหนึ่งโดยอุบัติเหตุ เครื่องบินที่ได้รับความเสียหายสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย ต่อมามันได้รับการซ่อมแซมและเข้าประจำการต่อ[59]
ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ในขณะซ้อมการเข้าสกัดกั้นเหนือทะเลญี่ปุ่น เอฟ-15เจลำหนึ่งถูกยิงตกโดยขีปนาวุธเอไอเอ็ม-9 ที่ยิงโดยลูกหมู่ของเขาโดยอุบัติเหตุเหมือนกับที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 นักบินดีดตัวได้อย่างปลอดภัย[60]
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544 ขณะการซ้อมบินระดับต่ำเหนือสกอตแลนด์ เอฟ-15ซีสองลำของกองทัพอากาศสหรัฐได้ตกลงใกล้กับยอดเขาแห่งหนึ่ง[61] นักบินทั้งสองเสียชีวิตในอุบัติเหตุซึ่งต่อมาส่งผลต้องนำตัวผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศของกองทัพอากาศอังกฤษไปขึ้นศาล แต่เขาก็บริสุทธิ์ [62]
ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15ซีตกลงขณะทำการซ้อมรบใกล้กับเซนท์หลุยส์รัฐมิสซูรี นักบินดีดตัวได้แต่ได้รับบาดเจ็บสาหัส การตกมาจากโครงสร้างที่เกิดเสียหายขณะทำการบิน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15 ทั้งหมดถูกระงับการบินหลังจากทำการสืบสวนหาสาเหตุของการตก[63] และวันต่อมาก็ได้ทำการระงับเอฟ-15 ที่ทำการรบอยู่ในตะวันออกกลาง[64] เมื่อถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15 มากกว่า 1,100 ลำถูกระงับการบินทั่วโลกเช่นเดียวกับอิสราเอล ญี่ปุ่น และซาอุดิอาระเบีย[65] เอฟ-15 ได้รับการอนุญาตให้บินขึ้นอีกครั้งในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[66] ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 กองทัพอากาศสหรัฐให้เครื่องเอฟ-15เอ-ดี 60% กลับไปทำการบินได้[43] ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551 มีการเปิดเผยว่าเกิดจากโครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน[44] กองทัพอากาศอนุญาตให้เอฟ-15เอ-ดีทั้งหมดขึ้นบินอีกครั้งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[46] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 นักบินที่ได้รับบาดเจ็บได้ทำการฟ้องบริษัทโบอิงที่ผลิตเอฟ-15[67]
[แก้] รายละเอียด เอฟ-15ซี อีเกิล
ลูกเรือ นักบิน 1 นาย
ความยาว 19.43 เมตร
ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสองข้าง 13.05 เมตร
ความสูง 5.63 เมตร
พื้นที่ปีก 56.5 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า 12,700 กิโลกรัม
น้ำหนักบรรทุก 20,200 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 30,845 กิโลกรัม
ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์แอนด์วิทนีย์ เอฟ100-100 -220 หรือ -229 จำนวน 2 เครื่อง เมื่อใช้สันดาปท้ายจะให้กำลังเครื่องละ 25,000 ปอนด์สำหรับ -220 และ 29,000 ปอนด์สำหรับ -229
ความเร็วสูงสุด
ระดับสูง 2.5 มัค (2,660 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ระดับต่ำ 1.2 มัค (1,450 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
รัศมีทำการรบ 1,967 กิโลเมตร
ระยะทำการขนส่ง 5,550 กิโลเมตร (มีถังเชื้อเพลิงเพิ่ม)
เพดานบินทำการ 65,000 ฟุต
อัตราการไต่ระดับ 50,000 ฟุตต่อนาที
บินทน: 5.25 ขั่วโมง เมื่อไม่ได้เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และ 9.7 ชั่วโมง เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
อาวุธ
ปืน ปืนแกทลิ่งเอ็ม61เอ1 ขนาด 20 ม.ม.หนึ่งกระบอกพร้อมกระสุน 960 นัด
ขีปนาวุธ เอไอเอ็ม-7เอฟ สแปร์โรว์ เอไอเอ็ม-120 แอมแรม เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์
[68][69][70][71][72]



ขนาดภาพตัวอย่าง: 800

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ชุมนุมคนรักเครื่องบิน

10 สุดยอดเครื่องบินรบของโลกในยุคปัจจุบัน

Number 10

F-15 Eagle
เอฟ-15 อีเกิล (F-15 Eagle) เอฟ-15 ทำการบินครั้งแรก เมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 เริ่มประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯเมื่อ ปี ค.ศ. 1974 กองทัพอากาศสหรัฐฯ มีโครงการจัดหา เอฟ-15 จำนวนกว่า 757 เครื่อง เอฟ-15 เป็นเครื่องบินรบที่มีอัตราการไต่สูงที่สุดในโลกแบบหนึ่ง ถึงแม้สถิติบางอย่างจะถูกทำลายโดย มิโกยัน มิก-25 ของสหภาพ







F-15 Eagle

ผู้สร้าง:บริษัทแมคดอนเนลล์ ดักลาส(สหรัฐอเมริกา)
ประเภท:เจ๊ตขับไล่ครองความเป็นจ้าวอากาศ ที่นั่งเดียว
เครื่องยนต์:เทอร์โบแฟน แพรท์ แอนด์วิทนีย์ เอฟ 100-พีดับลิว-100 จำนวน 2 เครื่อง ให้แรงขับเครื่องละ 11 340 กิโลกรัม
กางปีก:13.05 เมตร
ยาว:19.43 เมตร
สูง:5.63 เมตร
พื้นที่ปีก:56.3 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า: 11 860 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้น: 17 350 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 18 145 กิโลกรัม เมื่อปฏิบัติภาระกิจสกัดกั้น โดยเติมเชื้อเพลิงในลำตัวเต็มที่ และ ติดตั้งอาวุธปล่อยสแปโรว์ 4 นัด
24 675 กิโลกรัม เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงชนิดปลดทิ้งได้ จำนวน 3 ถัง มีความจุทั้งสิ้น 600 ยูเอส แกลลอน
อัตราเร็ว: 2.5 มัค ที่ระยะสูง 11 000 เมตร และ 1.2 มัค ที่ระยะสูงระดับน้ำทะเล
อัตราไต่: 30 000 เมตร ภายในระยะเวลา 3 นาที 27.80 วินาที
พิสัยบิน: กว่า 5 560 กิโลเมตร เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ 1 ครั้ง
เพดานบินสัมบูรณ์: 30 500 เมตร
พิสัยบิน: 4 800 กิโลเมตร และ 5 560 เมตร เมื่อติดตั้งกระเประเชื้อเพลิงพิเศษแนบข้างลำตัว
รัศมีทำการรบ: 1 800 กิโลเมตร
บินทน: 5.25 ขั่วโมง เมื่อไม่ได้เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และ 9.7 ชั่วโมง เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
อาวุธ: ปืนใหญ่อากาศ เอ็ม 61 เอ-1 ขนาด 20 มม. 1 กระบอก พร้อม กระสุน 940 นัด
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ ระยะใก้ลและปานกลาง เอไอเอ็ม-9 แอล ไซด์ไวด์เดอร์ 4 นัดที่ใต้ปีก
อาวุธปล่อยอากาศ ระยะไกล เอไอเอ็ม-7 เอฟ สแปร์โรว์ 4 นัด ที่ใต้ลำตัว









Number 9
F-16I Sufa
F-16I sufa ของIsrael ตัวนี้อย่างเทพในภูมิภาคตะวันออกกลาง








Number 8

JAS 39 Gripen
ยาส 39 กริพเพน (สวีเดน: JAS 39 Gripen) เป็นเครื่องบินรบหลากหลายภารกิจของประเทศสวีเดน ผลิตโดยบริษัทซ้าบ เข้าประจำการในสวีเดน ฮังการีและเช็ก กำลังทยอยส่งมอบให้กับแอฟริกาใต้ และมีการใช้งานใน Empire Test Pilots’ School
วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 กองทัพอากาศไทยแถลงผลการดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข (เอฟ-5 B/E) ระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง ได้ตัดสินใจซื้อเครื่อง ยาส 39 กริพเพน ในวงเงินกว่า 19 000 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2555 โดยเครื่องบินฝูงใหม่จะประจำการที่กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธาน




ข้อมูล
ความยาว : 14.1 เมตรในรุ่นที่นั่งเดียว และ 14.8 เมตรในรุ่นสองที่นั่ง
ความกว้าง : 8.4 เมตร
ความสูง : 4.5 เมตร
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 14 ตัน
ความเร็วสูงสุด : 2 มัค
เครื่องยนต์ : RM12 ของวอลโว่ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเครื่องยนต์ F-404 ของเจเนอรัล อิเล็กทริค
ระบบเรดาร์ : PS-05/A ของอิริคสัน

ระบบอาวุธ
ปืนใหญ่อากาศ : Mauser BK-27 ขนาด 27 มม.
กระเปาะชี้เป้า : Litening G111 จากอิสราเอล
กระเปาะลาดตระเวน : SPK 39 MRPS จากยุโรป

ขีปนาวุธ :
อากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ - AIM-9 Sidewinder AIM-132 ASRAAM IRIS-T Python 4 A-Darter
อากาศสู่อากาศพิสัยกลาง - AIM-120 AMRAAM Meteor Darby R-Darter
อากาศสู่พื้น - CRV-7 AGM-65 Taurus KEPD 350 RBS-15
ระเบิด : Mark-82 Mark-83 Mark-84
ระเบิดนำวิถี : GBU-10 GBU-12 GBU-16



Number 7

F/A-18E/F Super Hornet

เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท
เอฟ/ เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท (F/A-18E/F Super Hornet) เอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เป็นเครื่องบินที่ได้รับการพัฒนามาจากเครื่องเอฟ/เอ-18 อันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาเครื่องบิน เอ-12 อเวนเจอร์ II ในปี ค.ศ. 1990 ซึ่งจะนำมาใช้แทนเครื่องบิน เอ-6 อินทรูเดอร์ และ เอ-7 คอร์แซร์ II ได้ล้มเลิกไป และนอกจากนี้ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย กองทัพเรือขาดขีดความสามารถในการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายในอิรัก และกองทัพเรือสหรัฐฯต้องการเครื่องบินขับไล่แบบใหม่มาทดแทน เครื่องบินขับไล่ เอฟ-14 ทอมแคท นอกจากเครื่องบินที่รอปลดประจำการแล้ว การปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ เอฟ/เอ-18 เอ/บี/ซ๊/ดี และเครื่องประจำการบนเรื่อบรรทุกอากาศยานยังทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯสูญเปล่า อาวุธที่มีราคาแพงโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์จำนวนมาก เนื่องจากว่าข้อจำกัดในเรื่องน้ำหนักเครื่องบินและความปลอดภัยเมื่อกลับมา ลงเรือบรรทุกอากาศยาน เพราะก่อนขึ้นปฏิบัติภารกิจเครื่องบินขับไล่จะได้รับการติดตั้งอาวุธ ขึ้นไปด้วยเมื่อถึงเป้าหมายเครื่องบินไม่สามารถใช้อาวุธได้อาจด้วยเหตุผลใด ก็ตาม แต่จะไม่สามารถนำอาวุธกลับมาลงเรือได้ต้องทิ้งลงทะเลหรือพื้นที่ปลอดภัย ก่อนเครื่องเอฟ/เอ-18 รุ่นเดิมจึงทำให้สูญเสียอาวุธเป็นจำนวนมาก บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส จึงได้เสนอเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ เอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ท ซึ่งสามารถลดการสูญเสียดังกล่าวได้










ซูเปอร์ฮอร์เน็ท มีขีดความสามารถในการบินลงบนดาดฟ้าเรือด้วยความเร็วต่ำ ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่กว่า เอฟ/เอ-18 ประมาณ 20% มีน้ำหนักมากกว่า 7 000 ปอนด์ น้ำหนักวิ่งขึ้นมากกว่า 15 000 ปอนด์ แต่ใช้ชิ้นส่วนน้อยกว่า 42% และที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ ช่องรับลมที่เอฟ/เอ-18 เป็นรูปตัว D แต่รุ่นซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นรูปสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ส่วนปีกยังขยายให้ใหญ่ขึ้นกว้างขึ้น เครื่องยนต์มีขนาดแรงขับมากขึ้น แต่ความเร็วยังคงเท่าเดิมที่ 1.8 มัค
ระบบ เรดาห์ของซูเปอร์ฮอร์เน็ท ใช้ระบบเรดาห์ เอพีจี-79AEAS ซึ่งมีความสามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลกว่าระบบแบบเก่า และสามารถปฏิบัติการในภารกิจได้ทั้งรบทางอากาศและโจมตีภาคพื้นดิน






รายละเอียด เอฟ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ท
ผู้สร้าง บริษัท โบอิง (สหรัฐอเมริกา)
ผู้ออกแบบ บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส (สหรัฐอเมริกา)
ประเภท เจ๊ตขับไล่ครองความเป็นจ้าวอากาศ ที่นั่งเดียว ประจำเรือบรรทุกอากาศยาน
เครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน เจนอลรัล อีเล็คตริค เอฟ414-ยีอี-400 ให้แรงขับเครื่องละ 14 000 ปอนด์ และ 22 000 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
ยาว 18.31 เมตร
สูง 4.88 เมตร
พื้นที่ปีก 46 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า 13 864 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 29 900 กิโลกรัม
ความเร็วสูงสุด กว่า 1.8 มัค
พิสัยบิน 1 095 กิโลเมตร
เพดานบิน 15 000 เมตร




Number 6

Mirage 2000-5 Mark 2
ดัซโซลท์ มิราจ 2000 (Dassault Mirage 2000) มิราจ 2000 บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1978 กองทัพฝรั่งเศสต้องการใช้แทน มิราจ 3 และมิราจ 5 มีการส่งมอบในปี ค.ศ. 1982


ผู้สร้าง :บริษัทดัซโซลท์-เบร์เกต์(ฝรังเศส)
ประเภท:เครื่องบินรบเอนกประสงค์ ที่นั่งเดียว
เครื่องยนต์:เทอร์โบเจ๊ต สเนคม่า(Snecma) เอ็ม 53-5 ให้แรงขับ 8 500 กิโลกรัม และ 9 000 กิโลกรัม เมื่อสันดาปท้าย 1 เครื่อง
กางปีก: 9 เมตร
ยาว: 15.33 เมตร
สูง: 5.3 เมตร
พื้นที่ปีก: 40 ตารางเมตร
น้ำหนักวิ่งขึ้น: 9 900 กิโลกรัม
อัตราความเร็ว: 2.2-2.3 มัค ที่ระยะสูง 11 000 เมตร
อัตราเร่งจาก 0-2 มัค: 4 นาที
รัศมีทำการรบ: 700 กิโลเมตร
อาวุธ:ปืนใหญ่อากาศ เดฟา ขนาด 30 มม. 2 กระบอก ที่ใต้ลำตัวข้างช่องรับอากาศ

ภาระกิจสกัดกั้น
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ แมทรา ซูเปอร์ 530 (Matra super 530) ที่ใต้ปีกช่วงใน ปีกละ 1 นัด
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยบินใกล้ แมทรา 550 แมจิค (Matra 550 Magic) ที่ใต้ปีกช่วงนอก ปีกละ 1 นัด
ภาระกิจโจมตี
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศแมจิค ที่ใต้ปีกนอกปีกละ 1 นัด
ลูกระเบิดขนาด 250 กิโลกรัม ที่ใต้ลำตัวด้านข้างด้านละ 2 ลูก รวม 4 ลูก
ถังเชื้อเพลิงอะไหล่ 3 ถัง ที่ใต้ปีกข้างในข้างละ 1 ถัง และ ใต้ลำตัวอีก 1 ถัง
อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้นแอโรสเปเชียล เอเอส 30 แอล นำวิถีด้วยเลเซอร์ 1 นัด ที่ใต้ลำตัว

รวม: สามารถติดอาวุธได้ 9 ตำบล คือ ใต้ปีก 4 ตำบล และใต้ลำตัว 5 ตำบล คิดเป็นน้ำหนัก 5 000 กิโลกรัม




Number 5

MiG-35 Fulcrum-F







Number 4

SU-30 MK3
ซู-30 ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องที่มีความคล่องตัวสูงมาก สามารถติดอาวุธได้หลากหลายรวมถึง 8 ตัน เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลที่มีรัศมีการรบถึง 1 500 กม. แต่มีราคาที่ค่อนข้างถูกคือประมาณ 30 - 35 ล้านเหรียญสหรัญต่อเครื่อง เรด้าห์ของเครื่องสามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลกว่า 400 กม. สามารถติดตามเป้าหมายได้พร้อมกัน 15 เป้าหมาย และโจมตีได้พร้อมกัน 4 เป้าหมาย ซู-30 สามารถโจมตีเป้าหมายโดยที่ข้าศึกไม่รู้ตัวจากการใช้ประโยชน์จากเรด้าห์ระยะ ไกล โดยนักบินสามารถตรวจจับเป้าหมายได้จากระยะไกล จากนั้นจึงทำการล็อกเป้าหมายและส่งข้อมูลของเป้าหมายไปให้ระบบเดินอากาศ จากนั้นนักบินจะปิดเรด้าห์และนำเครื่องบินเข้าใกล้เป้าหมายจนถึงระยะเกือบ ไกลสุดของอาวุธนำวิถี จากนั้นจะทำการเปิดเรด้าห์และยิงจรวดเข้าโจมตี ด้วยวิธีนี้ทำให้ข้าศึกไม่สามารถรู้ตัวล่วงหน้าได้เลยว่าจะถูกโจมตี









รายละเอียด
นักบิน: 2
ประเภท:เครื่องบินขับใล่ครองอากาศ สองที่นั่ง
ยาว: 21.935 เมตร (72 ฟุต 9 นิ้ว)
กางปีก:14.7 เมตร (48 ฟุต)
สูง: 6.357 เมตร (21 ฟุต 5 นิ้ว)
น้ำหนักเปล่า: 17 700 กิโลกรัม (39 021 ปอนด์)
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 33 000 กิโลกรัม (72 752 ปอนด์)
เครื่องยนต์: 2 เครื่อง ยี่ห้อ แซทเทริน รุ่น เอแอล-31
กำลังสูงสุด : 16 754 ปอนด์ฟุต (74.5 กิโลนิวตัน) ต่อเครื่อง
กำลังสูงสุดเมื่อใช้ระบบเผาไหม้สันดาปท้าย : 27 550 ปอนด์ฟุต (122.58 กิโลนิวตัน) ต่อเครื่อง
ความเร็วสูงสุด: 2150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (2.35 มัค)
ความเร็วเดินทาง: 1 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (870 ไมล์)
บินไกล: 3 000 กิโลเมตร (1 620 ไมล์ทะเล)
บินได้สูงสุด: 17 500 เมตร (57 410 ฟุต)
อัตราใต่: 230 เมตรต่อวินาที (45 275 ฟุตต่อนาที)




Number 3
Dassault Rafale
ดัซโซลท์ ราฟาเอล
ดัซโซลท์ ราฟฟาล (Dassualt Rafale) เป็นเครื่องบินรบแบบสองเครื่องยนต์เจ็ต ทำการรบได้หลายแบบ ทั้งภาระกิจ ระยะสั้น และ ระยะไกล Rafale เป็นเครื่องบินรบ ปฏิบัติภาระกิจ แบบผสม ทำการตรวจจับลำบาก มีความสามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน ทุกสภาพอากาศ
เครื่อง บินได้พัฒนา เพื่อกองทัพ อากาศ และ กองทัพเรือ ของประเทศ ฝรั่งเศส เมื่อประเทศฝรั่งเศส ขอถอนตัว ออกจาก โครงการ EFA ( European Fighter Aircraft ) หรือ Eurofighter ในปี ค.ศ. 1985 ประเทศฝรั่งเศส ตัดสินใจพัฒนาเครื่องบินรบด้วยตัวเอง และเลือกที่จะสร้าง Rafale เครื่องบิน Rafale ก็มีปีกเล็กที่ส่วนหน้า ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม แต่มี มุมน้อยกว่า เครื่อง ของ EFA และโครงสร้าง ลำตัวก็สร้างด้วย วัสดุผสม ( composite)เป็นจำนวนมาก






Number 2

Eurofighter Typhoon (ยูโรไฟท์เตอร์ ไต้ฝุ่น)
ยูโรไฟ ท์เตอร์ ไต้ฝุ่น The EURO FIGHTER 2000 (Typhoon) ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1983 กองทัพอากาศ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก ขณะนั้น อิตาลี สเปน และอังกฤษ ได้ประกาศโครงการ ร่วมกัน ที่จะพัฒนาเครื่องบินรบ สำหรับศตวรรษหน้า และให้ชื่อว่า FEFA ( เครื่องบินรบ ในอนาคต ของยุโรป). FEFA ตอนแรกคาดว่าจะเข้าประจำการทั้ง 5 ประเทศ กลางปี 1990 แต่ ตั้งแต่เริ่มโครงการก็เกิดปัญหา และอุปสรรค จากการเมือง ธุรกิจ ด้านเทคนิค และการทหารการไม่เห็นด้วย กับขนาด และกำหนดการผลิต ทำให้ฝรั่งเศส ถอนตัวออกจากโครงการ ในเดือน ก.ค. 1985 ( ฝรั่งเศสต้องการเลื่อนการผลิตออกไปเพราะว่า กำหนดการไปแข่งกับเครื่อง มิราจ 2000 ซึ่งฝรั่งเศสเป็นผู้สร้าง) ในเดือน มิ.ย. ค.ศ. 1986 บริษัทยูโรไฟท์เตอร์ ได้จัดตั้งขึ้น ปัจจุบันคือ EFA (Europian Fighter Aircraft ) ประกอบด้วยบริษัท British Aerospace จากอังกฤษ(33%) บริษัท MBB จากเยอรมัน (ปัจจุบัน DASA 33%) Aeritalia จากอิตาลี (ปัจจุบัน Alenia 21%) และ CASA จากสเปน (13%)
ปัจจุบันเครื่องนี้ เป็นที่รู้จักกันในนาม Eurofighter 2000. เริ่มบินครั้งแรก วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1994.การส่งมอบ เครื่องลำแรก คาดว่าในปี 2000 แต่ กองทัพอากาศ อังกฤษจะได้รับประมาณปี 2005 การออกแบบ ปีกต่ำ อัตตราความยาวของปีก ต่อความกว้างต่ำ ไม่มีแพนหาง ปีกสามเหลี่ยม และลู่หลัง 53 องศา ใต้ลำตัวทั้งสองข้าง เป็นทางอากาศเข้าเครื่องยนต์ ขอบล่าง ของช่องปรับได้ มีจุดประสงค์ให้ใช้ งานได้ 6 000 ช.ม. หรือ 30 ปี







ปัจจุบัน Typhoon หาลูกค้านอกกลุ่มได้แล้ว 2 รายครับ คือออสเตรียที่สั่งซื้อไป 15 ลำและซาอุดิอารเบียที่สั่งซื้อไป 72 ลำ ในราคา 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยซาอุจะผลิตในประเทศเอง 48 ลำ นอกจากนั้น Typhoon ยังอยู่ในการแข่งขันที่สวิสเซอร์แลนด์ (36 ลำ) อินเดีย (126 ลำ) ญี่ปุ่น (50 ลำ) และ โรมาเนีย (48 ลำ) แต่ที่อาจจะเป็นไปได้มากที่สุดก็คือญี่ปุ่นครับ อินเดียยังเดาไม่ถูกแต่ก็มีโอกาสดีพอสมควร ส่วนสวิสเซอร์แลนด์กับโรมาเนียน่าจะยากมากเพราะราคาเครื่องแพงเกินกว่างบ ประมาณที่สองประเทศนั้นต้องการจ่าย
Typhoon เพิ่งประกอบเสร็จเรียบร้อยและขึ้นบินเที่ยวแรกเมื่อวันสองวันที่ผ่านมาที่ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นผู้ผลิต
Typhoon ของกองทัพอากาศซาอุขึ้นบินเที่ยวแรก
ซา อุทุกวันร่ำรวยไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร เมื่อปี 2550 ซาอุดิอารเบียจึงตัดสินใจสละเศษเหรียญมูลค่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อซื้อ Typhoon จำนวน 72 ลำ
ซาอุดิอารเบียจัดหา Typhoon ทั้ง 72 ลำภายใต้ Project Salam ซึ่งเป็นโครงการจัดหาอาวุธของซาอุดิอารเบีย แม้ว่าจะมีข้อครหาเรื่องการจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่ของอาซุจนการจัดหาเกือบ ถูกยกเลิกก็ตาม โดยซาอุดิอารเบียเป็นชาติแรกนอกยุโรปที่จัดหา Typhoon เข้าประจำการ แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Typhoon พร้อมด้วย F-16BR และ Su-35 เพิ่งถูกคัดออกจากการแข่งขันของกองทัพอากาศบราซิลภายใต้โครงการ F-X2 เพื่อจัดหาเครื่องบินขับไล่ให้กับกองทัพอากาศบราซิลจำนวน 36 ลำ (โดย Rafale Gripen และ F/A-18E/F ได้รับเลือกในรอบสุดท้าย) แต่ Typhoon ก็ยังอยู่ในการแข่งขันที่โรมาเนีย อินเดีย ญี่ปุ่น และกรีซ ซึ่งทั้ง 4 ประเทศนี้ต้องการเครื่องบินรวมกันทั้งหมดถึงเกือบ 300 ลำทีเดียว






Number 1

สุดยอดเครื่องบินรบของโลกในยุคปัจจุบัน

F-22 Raptor เอฟ-22 แร็พเตอร์
เอฟ -22 แร็พเตอร์ (F-22 Raptor) เครื่องบิน เอฟ-22 เป็นเครื่องบินเจ๊ตขับไล่ที่มีแผนแบบจะนำมาใช้ปฏิบัติการครองอากาศทดแทน เครื่องบิน เอฟ-15 เริ่มต้นในต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1985 กองทัพอากาศสหรัฐได้กำหนดความต้องการเครื่องบินขับไล่ยุทธวิธีขั้นก้าวหน้า ADVANCE TACTICAL FIGHTER (ATF) ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1986 กองทัพอากาศสหรัฐได้คัดเลือก กลุ่มบริษัท 2 กลุ่ม โดยมีการคัดเลือกเครื่องบินต้นแบบ จากสองกลุ่มบริษัทได้แก่ กลุ่มของบริษัท เจนเนอรัล ไดนามิกส์/ล็อกฮีด/โบอิง (เจเนอรัล ไดนามิกส์ ควบรวมกับ ล็อกฮีดในภายหลัง) ที่ดำเนินการสร้างเครื่องต้นแบบ YF-22 กับ กลุ่มของ บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส/นอร์ทธอป ที่สร้างเครื่องต้นแบบ YF-23 เพื่อดำเนินการสาธิตและการรับรองเครื่องต้นแบบโดยต้องมีการดำเนินการออกแบบ และบินทดลอง และในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1991 กองทัพอากาศสหรัฐฯได้ตัดสินใจเลือกเครื่องต้นแบบ YF-22 ในการดำเนินการ
เครื่อง ต้นแบบ YF-22 ได้มีการดำเนินการสาธิตและรับรองเครื่องต้นแบบนานกว่า 54 เดือน หรือ กว่า 4 ปีครึ่ง โดยมีการทดลองบินเครื่องต้นแบบ YF-22 กว่า 74 เที่ยวบิน รวมเวลาบิน 91.6 ชั่วโมง ทดสอบติดตั้งและยิงจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศ ไซด์ไวน์เดอร์ และ เอมแรม การเติมน้ำมันในอากาศ ทดสอบปรับแรงขับของเครื่องยนต์ขณะบิน ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ (AVIONICS) การทดสอบและปรับปรุงห้องนักบินโดยการทดลองใช้จริงร่วมกับกองทัพอากาศและกอง ทัพเรือสหรัฐฯ และการทดสอบวัดขนาดพื้นที่สะท้อนเรดาร์ กับขนาดจริงของเครื่องบิน ส่วนการทดสอบเครื่องยนต์ต้นแบบ ก็มีอยู่ 2 แบบคือ เครื่องยนต์ต้นแบบ YF-119 ของบริษัทแพทตแอนด์วิทนีย์ และ เครื่องต้นแบบ YF 120 ของบริษัท เจนเนอรัล อิเล็คตริก ผลการตัดสินของกองทัพอากาศสหรัฐ ได้เลือกเครื่องยนต์ต้นแบบ YF-119 สำหรับใช้กับเครื่องบินขับไล่ เอฟ-22 [1][2]
เอฟ-22 เป็นเครื่องบินครองความเป็นจ้าวอากาศ แต่ทางกองทัพอากาศสหรัฐฯ มีโครงการพัฒนาเอฟ-22 ให้เป็นเครื่องบินรบหลายภารกิจ และพัฒนาให้สามารถโจมตีภาคพื้นดินและทิ้งระเบิดได้ เป็นเอฟบี-22 เพราะด้วยความสามารถของเอฟ-22 ที่เป็นเครื่องบินที่ใช้เทคโนโลยีในการออกแบบและพื้นผิวเครื่องแบบพิเศษทำ ให้ล่องหน (Stealth) สามารถรอดพ้นจากการตรวจจับด้วยเรดาร์ สามารถบินเข้าไปสู่เป้าหมายด้วยความเร็วเหนือเสียงโดยไม่ต้องสันดาปท้ายและ เข้าปฏิบัติการตามลำพังได้ การโจมตีเป้าหมายของเอฟ-22 นักบินจะนำเครื่องบินสู่เป้าหมายด้วยอัตราความเร็ว 1.5 มัค ที่ความสูง 18 000 เมตร เพื่อลดโอกาสการถูกตรวจจับและการต่อต้านจากอาวุธภาคพื้นดิน เป้าหมายการทำลายของเอฟ-22 คือฐานยิงอาวุธปล่อยนำวิถีเคลื่อนที่ และ เป้าหมายที่ต้องทำลายเร่งด่วนอื่นๆ[3]


-22 นั้นมีความสามารถในการบินด้วยความเร็วเหนือเสียงได้โดยไม่ต้องเปิด Afterburn ซึ่งเรียกความสามารถนี้ว่า "Super Cruise" ทำให้ลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไปได้มากทีเดียว โดย F-22 มีรัศมีปฏิบัติการที่ 1000 กิโลเมตร มีเรด้าห์ AN/APG-77 AESA (Active Electronic Scan Array) ที่ทันสมัย มีระบบ Datalink โดยมีลักษณะการทำงานแบบเดียวกับระบบ Datalink ที่ติดตั้งอยู่ใน JAS-39 Gripen (สนใจลักษณะการทำงานกรุณาคลิ้กไปดูบทความเรื่องJAS-39 ครับ) F-22 สามารถบินได้ที่ความสูงที่สูงถึง 66 000 ฟุต เรียกได้ว่าสูงกว่าเครื่องบินแบบอื่น ๆ ประมาณ 10 000 ฟุตเลยทีเดียว

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บล็อกคืออะไร

วันที่ ศุกร์ ธันวาคม 2549
พิมพ์หน้านี้ ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation

บล็อก คือ อะไร
บล็อก (BLOG) คืออะไร
บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก) = BLOG คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย
ลักษณะของสื่อใหม่
กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
มีลักษณะเป็น Interactive
ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=66