วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ชุมนุมคนรักเครื่องบิน

10 สุดยอดเครื่องบินรบของโลกในยุคปัจจุบัน

Number 10

F-15 Eagle
เอฟ-15 อีเกิล (F-15 Eagle) เอฟ-15 ทำการบินครั้งแรก เมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 เริ่มประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯเมื่อ ปี ค.ศ. 1974 กองทัพอากาศสหรัฐฯ มีโครงการจัดหา เอฟ-15 จำนวนกว่า 757 เครื่อง เอฟ-15 เป็นเครื่องบินรบที่มีอัตราการไต่สูงที่สุดในโลกแบบหนึ่ง ถึงแม้สถิติบางอย่างจะถูกทำลายโดย มิโกยัน มิก-25 ของสหภาพ







F-15 Eagle

ผู้สร้าง:บริษัทแมคดอนเนลล์ ดักลาส(สหรัฐอเมริกา)
ประเภท:เจ๊ตขับไล่ครองความเป็นจ้าวอากาศ ที่นั่งเดียว
เครื่องยนต์:เทอร์โบแฟน แพรท์ แอนด์วิทนีย์ เอฟ 100-พีดับลิว-100 จำนวน 2 เครื่อง ให้แรงขับเครื่องละ 11 340 กิโลกรัม
กางปีก:13.05 เมตร
ยาว:19.43 เมตร
สูง:5.63 เมตร
พื้นที่ปีก:56.3 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า: 11 860 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้น: 17 350 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 18 145 กิโลกรัม เมื่อปฏิบัติภาระกิจสกัดกั้น โดยเติมเชื้อเพลิงในลำตัวเต็มที่ และ ติดตั้งอาวุธปล่อยสแปโรว์ 4 นัด
24 675 กิโลกรัม เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงชนิดปลดทิ้งได้ จำนวน 3 ถัง มีความจุทั้งสิ้น 600 ยูเอส แกลลอน
อัตราเร็ว: 2.5 มัค ที่ระยะสูง 11 000 เมตร และ 1.2 มัค ที่ระยะสูงระดับน้ำทะเล
อัตราไต่: 30 000 เมตร ภายในระยะเวลา 3 นาที 27.80 วินาที
พิสัยบิน: กว่า 5 560 กิโลเมตร เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ 1 ครั้ง
เพดานบินสัมบูรณ์: 30 500 เมตร
พิสัยบิน: 4 800 กิโลเมตร และ 5 560 เมตร เมื่อติดตั้งกระเประเชื้อเพลิงพิเศษแนบข้างลำตัว
รัศมีทำการรบ: 1 800 กิโลเมตร
บินทน: 5.25 ขั่วโมง เมื่อไม่ได้เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และ 9.7 ชั่วโมง เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
อาวุธ: ปืนใหญ่อากาศ เอ็ม 61 เอ-1 ขนาด 20 มม. 1 กระบอก พร้อม กระสุน 940 นัด
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ ระยะใก้ลและปานกลาง เอไอเอ็ม-9 แอล ไซด์ไวด์เดอร์ 4 นัดที่ใต้ปีก
อาวุธปล่อยอากาศ ระยะไกล เอไอเอ็ม-7 เอฟ สแปร์โรว์ 4 นัด ที่ใต้ลำตัว









Number 9
F-16I Sufa
F-16I sufa ของIsrael ตัวนี้อย่างเทพในภูมิภาคตะวันออกกลาง








Number 8

JAS 39 Gripen
ยาส 39 กริพเพน (สวีเดน: JAS 39 Gripen) เป็นเครื่องบินรบหลากหลายภารกิจของประเทศสวีเดน ผลิตโดยบริษัทซ้าบ เข้าประจำการในสวีเดน ฮังการีและเช็ก กำลังทยอยส่งมอบให้กับแอฟริกาใต้ และมีการใช้งานใน Empire Test Pilots’ School
วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 กองทัพอากาศไทยแถลงผลการดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข (เอฟ-5 B/E) ระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง ได้ตัดสินใจซื้อเครื่อง ยาส 39 กริพเพน ในวงเงินกว่า 19 000 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2555 โดยเครื่องบินฝูงใหม่จะประจำการที่กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธาน




ข้อมูล
ความยาว : 14.1 เมตรในรุ่นที่นั่งเดียว และ 14.8 เมตรในรุ่นสองที่นั่ง
ความกว้าง : 8.4 เมตร
ความสูง : 4.5 เมตร
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 14 ตัน
ความเร็วสูงสุด : 2 มัค
เครื่องยนต์ : RM12 ของวอลโว่ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเครื่องยนต์ F-404 ของเจเนอรัล อิเล็กทริค
ระบบเรดาร์ : PS-05/A ของอิริคสัน

ระบบอาวุธ
ปืนใหญ่อากาศ : Mauser BK-27 ขนาด 27 มม.
กระเปาะชี้เป้า : Litening G111 จากอิสราเอล
กระเปาะลาดตระเวน : SPK 39 MRPS จากยุโรป

ขีปนาวุธ :
อากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ - AIM-9 Sidewinder AIM-132 ASRAAM IRIS-T Python 4 A-Darter
อากาศสู่อากาศพิสัยกลาง - AIM-120 AMRAAM Meteor Darby R-Darter
อากาศสู่พื้น - CRV-7 AGM-65 Taurus KEPD 350 RBS-15
ระเบิด : Mark-82 Mark-83 Mark-84
ระเบิดนำวิถี : GBU-10 GBU-12 GBU-16



Number 7

F/A-18E/F Super Hornet

เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท
เอฟ/ เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท (F/A-18E/F Super Hornet) เอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เป็นเครื่องบินที่ได้รับการพัฒนามาจากเครื่องเอฟ/เอ-18 อันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาเครื่องบิน เอ-12 อเวนเจอร์ II ในปี ค.ศ. 1990 ซึ่งจะนำมาใช้แทนเครื่องบิน เอ-6 อินทรูเดอร์ และ เอ-7 คอร์แซร์ II ได้ล้มเลิกไป และนอกจากนี้ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย กองทัพเรือขาดขีดความสามารถในการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายในอิรัก และกองทัพเรือสหรัฐฯต้องการเครื่องบินขับไล่แบบใหม่มาทดแทน เครื่องบินขับไล่ เอฟ-14 ทอมแคท นอกจากเครื่องบินที่รอปลดประจำการแล้ว การปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ เอฟ/เอ-18 เอ/บี/ซ๊/ดี และเครื่องประจำการบนเรื่อบรรทุกอากาศยานยังทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯสูญเปล่า อาวุธที่มีราคาแพงโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์จำนวนมาก เนื่องจากว่าข้อจำกัดในเรื่องน้ำหนักเครื่องบินและความปลอดภัยเมื่อกลับมา ลงเรือบรรทุกอากาศยาน เพราะก่อนขึ้นปฏิบัติภารกิจเครื่องบินขับไล่จะได้รับการติดตั้งอาวุธ ขึ้นไปด้วยเมื่อถึงเป้าหมายเครื่องบินไม่สามารถใช้อาวุธได้อาจด้วยเหตุผลใด ก็ตาม แต่จะไม่สามารถนำอาวุธกลับมาลงเรือได้ต้องทิ้งลงทะเลหรือพื้นที่ปลอดภัย ก่อนเครื่องเอฟ/เอ-18 รุ่นเดิมจึงทำให้สูญเสียอาวุธเป็นจำนวนมาก บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส จึงได้เสนอเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ เอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ท ซึ่งสามารถลดการสูญเสียดังกล่าวได้










ซูเปอร์ฮอร์เน็ท มีขีดความสามารถในการบินลงบนดาดฟ้าเรือด้วยความเร็วต่ำ ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่กว่า เอฟ/เอ-18 ประมาณ 20% มีน้ำหนักมากกว่า 7 000 ปอนด์ น้ำหนักวิ่งขึ้นมากกว่า 15 000 ปอนด์ แต่ใช้ชิ้นส่วนน้อยกว่า 42% และที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ ช่องรับลมที่เอฟ/เอ-18 เป็นรูปตัว D แต่รุ่นซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นรูปสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ส่วนปีกยังขยายให้ใหญ่ขึ้นกว้างขึ้น เครื่องยนต์มีขนาดแรงขับมากขึ้น แต่ความเร็วยังคงเท่าเดิมที่ 1.8 มัค
ระบบ เรดาห์ของซูเปอร์ฮอร์เน็ท ใช้ระบบเรดาห์ เอพีจี-79AEAS ซึ่งมีความสามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลกว่าระบบแบบเก่า และสามารถปฏิบัติการในภารกิจได้ทั้งรบทางอากาศและโจมตีภาคพื้นดิน






รายละเอียด เอฟ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ท
ผู้สร้าง บริษัท โบอิง (สหรัฐอเมริกา)
ผู้ออกแบบ บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส (สหรัฐอเมริกา)
ประเภท เจ๊ตขับไล่ครองความเป็นจ้าวอากาศ ที่นั่งเดียว ประจำเรือบรรทุกอากาศยาน
เครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน เจนอลรัล อีเล็คตริค เอฟ414-ยีอี-400 ให้แรงขับเครื่องละ 14 000 ปอนด์ และ 22 000 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
ยาว 18.31 เมตร
สูง 4.88 เมตร
พื้นที่ปีก 46 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า 13 864 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 29 900 กิโลกรัม
ความเร็วสูงสุด กว่า 1.8 มัค
พิสัยบิน 1 095 กิโลเมตร
เพดานบิน 15 000 เมตร




Number 6

Mirage 2000-5 Mark 2
ดัซโซลท์ มิราจ 2000 (Dassault Mirage 2000) มิราจ 2000 บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1978 กองทัพฝรั่งเศสต้องการใช้แทน มิราจ 3 และมิราจ 5 มีการส่งมอบในปี ค.ศ. 1982


ผู้สร้าง :บริษัทดัซโซลท์-เบร์เกต์(ฝรังเศส)
ประเภท:เครื่องบินรบเอนกประสงค์ ที่นั่งเดียว
เครื่องยนต์:เทอร์โบเจ๊ต สเนคม่า(Snecma) เอ็ม 53-5 ให้แรงขับ 8 500 กิโลกรัม และ 9 000 กิโลกรัม เมื่อสันดาปท้าย 1 เครื่อง
กางปีก: 9 เมตร
ยาว: 15.33 เมตร
สูง: 5.3 เมตร
พื้นที่ปีก: 40 ตารางเมตร
น้ำหนักวิ่งขึ้น: 9 900 กิโลกรัม
อัตราความเร็ว: 2.2-2.3 มัค ที่ระยะสูง 11 000 เมตร
อัตราเร่งจาก 0-2 มัค: 4 นาที
รัศมีทำการรบ: 700 กิโลเมตร
อาวุธ:ปืนใหญ่อากาศ เดฟา ขนาด 30 มม. 2 กระบอก ที่ใต้ลำตัวข้างช่องรับอากาศ

ภาระกิจสกัดกั้น
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ แมทรา ซูเปอร์ 530 (Matra super 530) ที่ใต้ปีกช่วงใน ปีกละ 1 นัด
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยบินใกล้ แมทรา 550 แมจิค (Matra 550 Magic) ที่ใต้ปีกช่วงนอก ปีกละ 1 นัด
ภาระกิจโจมตี
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศแมจิค ที่ใต้ปีกนอกปีกละ 1 นัด
ลูกระเบิดขนาด 250 กิโลกรัม ที่ใต้ลำตัวด้านข้างด้านละ 2 ลูก รวม 4 ลูก
ถังเชื้อเพลิงอะไหล่ 3 ถัง ที่ใต้ปีกข้างในข้างละ 1 ถัง และ ใต้ลำตัวอีก 1 ถัง
อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้นแอโรสเปเชียล เอเอส 30 แอล นำวิถีด้วยเลเซอร์ 1 นัด ที่ใต้ลำตัว

รวม: สามารถติดอาวุธได้ 9 ตำบล คือ ใต้ปีก 4 ตำบล และใต้ลำตัว 5 ตำบล คิดเป็นน้ำหนัก 5 000 กิโลกรัม




Number 5

MiG-35 Fulcrum-F







Number 4

SU-30 MK3
ซู-30 ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องที่มีความคล่องตัวสูงมาก สามารถติดอาวุธได้หลากหลายรวมถึง 8 ตัน เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลที่มีรัศมีการรบถึง 1 500 กม. แต่มีราคาที่ค่อนข้างถูกคือประมาณ 30 - 35 ล้านเหรียญสหรัญต่อเครื่อง เรด้าห์ของเครื่องสามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลกว่า 400 กม. สามารถติดตามเป้าหมายได้พร้อมกัน 15 เป้าหมาย และโจมตีได้พร้อมกัน 4 เป้าหมาย ซู-30 สามารถโจมตีเป้าหมายโดยที่ข้าศึกไม่รู้ตัวจากการใช้ประโยชน์จากเรด้าห์ระยะ ไกล โดยนักบินสามารถตรวจจับเป้าหมายได้จากระยะไกล จากนั้นจึงทำการล็อกเป้าหมายและส่งข้อมูลของเป้าหมายไปให้ระบบเดินอากาศ จากนั้นนักบินจะปิดเรด้าห์และนำเครื่องบินเข้าใกล้เป้าหมายจนถึงระยะเกือบ ไกลสุดของอาวุธนำวิถี จากนั้นจะทำการเปิดเรด้าห์และยิงจรวดเข้าโจมตี ด้วยวิธีนี้ทำให้ข้าศึกไม่สามารถรู้ตัวล่วงหน้าได้เลยว่าจะถูกโจมตี









รายละเอียด
นักบิน: 2
ประเภท:เครื่องบินขับใล่ครองอากาศ สองที่นั่ง
ยาว: 21.935 เมตร (72 ฟุต 9 นิ้ว)
กางปีก:14.7 เมตร (48 ฟุต)
สูง: 6.357 เมตร (21 ฟุต 5 นิ้ว)
น้ำหนักเปล่า: 17 700 กิโลกรัม (39 021 ปอนด์)
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 33 000 กิโลกรัม (72 752 ปอนด์)
เครื่องยนต์: 2 เครื่อง ยี่ห้อ แซทเทริน รุ่น เอแอล-31
กำลังสูงสุด : 16 754 ปอนด์ฟุต (74.5 กิโลนิวตัน) ต่อเครื่อง
กำลังสูงสุดเมื่อใช้ระบบเผาไหม้สันดาปท้าย : 27 550 ปอนด์ฟุต (122.58 กิโลนิวตัน) ต่อเครื่อง
ความเร็วสูงสุด: 2150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (2.35 มัค)
ความเร็วเดินทาง: 1 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (870 ไมล์)
บินไกล: 3 000 กิโลเมตร (1 620 ไมล์ทะเล)
บินได้สูงสุด: 17 500 เมตร (57 410 ฟุต)
อัตราใต่: 230 เมตรต่อวินาที (45 275 ฟุตต่อนาที)




Number 3
Dassault Rafale
ดัซโซลท์ ราฟาเอล
ดัซโซลท์ ราฟฟาล (Dassualt Rafale) เป็นเครื่องบินรบแบบสองเครื่องยนต์เจ็ต ทำการรบได้หลายแบบ ทั้งภาระกิจ ระยะสั้น และ ระยะไกล Rafale เป็นเครื่องบินรบ ปฏิบัติภาระกิจ แบบผสม ทำการตรวจจับลำบาก มีความสามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน ทุกสภาพอากาศ
เครื่อง บินได้พัฒนา เพื่อกองทัพ อากาศ และ กองทัพเรือ ของประเทศ ฝรั่งเศส เมื่อประเทศฝรั่งเศส ขอถอนตัว ออกจาก โครงการ EFA ( European Fighter Aircraft ) หรือ Eurofighter ในปี ค.ศ. 1985 ประเทศฝรั่งเศส ตัดสินใจพัฒนาเครื่องบินรบด้วยตัวเอง และเลือกที่จะสร้าง Rafale เครื่องบิน Rafale ก็มีปีกเล็กที่ส่วนหน้า ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม แต่มี มุมน้อยกว่า เครื่อง ของ EFA และโครงสร้าง ลำตัวก็สร้างด้วย วัสดุผสม ( composite)เป็นจำนวนมาก






Number 2

Eurofighter Typhoon (ยูโรไฟท์เตอร์ ไต้ฝุ่น)
ยูโรไฟ ท์เตอร์ ไต้ฝุ่น The EURO FIGHTER 2000 (Typhoon) ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1983 กองทัพอากาศ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก ขณะนั้น อิตาลี สเปน และอังกฤษ ได้ประกาศโครงการ ร่วมกัน ที่จะพัฒนาเครื่องบินรบ สำหรับศตวรรษหน้า และให้ชื่อว่า FEFA ( เครื่องบินรบ ในอนาคต ของยุโรป). FEFA ตอนแรกคาดว่าจะเข้าประจำการทั้ง 5 ประเทศ กลางปี 1990 แต่ ตั้งแต่เริ่มโครงการก็เกิดปัญหา และอุปสรรค จากการเมือง ธุรกิจ ด้านเทคนิค และการทหารการไม่เห็นด้วย กับขนาด และกำหนดการผลิต ทำให้ฝรั่งเศส ถอนตัวออกจากโครงการ ในเดือน ก.ค. 1985 ( ฝรั่งเศสต้องการเลื่อนการผลิตออกไปเพราะว่า กำหนดการไปแข่งกับเครื่อง มิราจ 2000 ซึ่งฝรั่งเศสเป็นผู้สร้าง) ในเดือน มิ.ย. ค.ศ. 1986 บริษัทยูโรไฟท์เตอร์ ได้จัดตั้งขึ้น ปัจจุบันคือ EFA (Europian Fighter Aircraft ) ประกอบด้วยบริษัท British Aerospace จากอังกฤษ(33%) บริษัท MBB จากเยอรมัน (ปัจจุบัน DASA 33%) Aeritalia จากอิตาลี (ปัจจุบัน Alenia 21%) และ CASA จากสเปน (13%)
ปัจจุบันเครื่องนี้ เป็นที่รู้จักกันในนาม Eurofighter 2000. เริ่มบินครั้งแรก วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1994.การส่งมอบ เครื่องลำแรก คาดว่าในปี 2000 แต่ กองทัพอากาศ อังกฤษจะได้รับประมาณปี 2005 การออกแบบ ปีกต่ำ อัตตราความยาวของปีก ต่อความกว้างต่ำ ไม่มีแพนหาง ปีกสามเหลี่ยม และลู่หลัง 53 องศา ใต้ลำตัวทั้งสองข้าง เป็นทางอากาศเข้าเครื่องยนต์ ขอบล่าง ของช่องปรับได้ มีจุดประสงค์ให้ใช้ งานได้ 6 000 ช.ม. หรือ 30 ปี







ปัจจุบัน Typhoon หาลูกค้านอกกลุ่มได้แล้ว 2 รายครับ คือออสเตรียที่สั่งซื้อไป 15 ลำและซาอุดิอารเบียที่สั่งซื้อไป 72 ลำ ในราคา 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยซาอุจะผลิตในประเทศเอง 48 ลำ นอกจากนั้น Typhoon ยังอยู่ในการแข่งขันที่สวิสเซอร์แลนด์ (36 ลำ) อินเดีย (126 ลำ) ญี่ปุ่น (50 ลำ) และ โรมาเนีย (48 ลำ) แต่ที่อาจจะเป็นไปได้มากที่สุดก็คือญี่ปุ่นครับ อินเดียยังเดาไม่ถูกแต่ก็มีโอกาสดีพอสมควร ส่วนสวิสเซอร์แลนด์กับโรมาเนียน่าจะยากมากเพราะราคาเครื่องแพงเกินกว่างบ ประมาณที่สองประเทศนั้นต้องการจ่าย
Typhoon เพิ่งประกอบเสร็จเรียบร้อยและขึ้นบินเที่ยวแรกเมื่อวันสองวันที่ผ่านมาที่ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นผู้ผลิต
Typhoon ของกองทัพอากาศซาอุขึ้นบินเที่ยวแรก
ซา อุทุกวันร่ำรวยไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร เมื่อปี 2550 ซาอุดิอารเบียจึงตัดสินใจสละเศษเหรียญมูลค่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อซื้อ Typhoon จำนวน 72 ลำ
ซาอุดิอารเบียจัดหา Typhoon ทั้ง 72 ลำภายใต้ Project Salam ซึ่งเป็นโครงการจัดหาอาวุธของซาอุดิอารเบีย แม้ว่าจะมีข้อครหาเรื่องการจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่ของอาซุจนการจัดหาเกือบ ถูกยกเลิกก็ตาม โดยซาอุดิอารเบียเป็นชาติแรกนอกยุโรปที่จัดหา Typhoon เข้าประจำการ แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Typhoon พร้อมด้วย F-16BR และ Su-35 เพิ่งถูกคัดออกจากการแข่งขันของกองทัพอากาศบราซิลภายใต้โครงการ F-X2 เพื่อจัดหาเครื่องบินขับไล่ให้กับกองทัพอากาศบราซิลจำนวน 36 ลำ (โดย Rafale Gripen และ F/A-18E/F ได้รับเลือกในรอบสุดท้าย) แต่ Typhoon ก็ยังอยู่ในการแข่งขันที่โรมาเนีย อินเดีย ญี่ปุ่น และกรีซ ซึ่งทั้ง 4 ประเทศนี้ต้องการเครื่องบินรวมกันทั้งหมดถึงเกือบ 300 ลำทีเดียว






Number 1

สุดยอดเครื่องบินรบของโลกในยุคปัจจุบัน

F-22 Raptor เอฟ-22 แร็พเตอร์
เอฟ -22 แร็พเตอร์ (F-22 Raptor) เครื่องบิน เอฟ-22 เป็นเครื่องบินเจ๊ตขับไล่ที่มีแผนแบบจะนำมาใช้ปฏิบัติการครองอากาศทดแทน เครื่องบิน เอฟ-15 เริ่มต้นในต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1985 กองทัพอากาศสหรัฐได้กำหนดความต้องการเครื่องบินขับไล่ยุทธวิธีขั้นก้าวหน้า ADVANCE TACTICAL FIGHTER (ATF) ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1986 กองทัพอากาศสหรัฐได้คัดเลือก กลุ่มบริษัท 2 กลุ่ม โดยมีการคัดเลือกเครื่องบินต้นแบบ จากสองกลุ่มบริษัทได้แก่ กลุ่มของบริษัท เจนเนอรัล ไดนามิกส์/ล็อกฮีด/โบอิง (เจเนอรัล ไดนามิกส์ ควบรวมกับ ล็อกฮีดในภายหลัง) ที่ดำเนินการสร้างเครื่องต้นแบบ YF-22 กับ กลุ่มของ บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส/นอร์ทธอป ที่สร้างเครื่องต้นแบบ YF-23 เพื่อดำเนินการสาธิตและการรับรองเครื่องต้นแบบโดยต้องมีการดำเนินการออกแบบ และบินทดลอง และในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1991 กองทัพอากาศสหรัฐฯได้ตัดสินใจเลือกเครื่องต้นแบบ YF-22 ในการดำเนินการ
เครื่อง ต้นแบบ YF-22 ได้มีการดำเนินการสาธิตและรับรองเครื่องต้นแบบนานกว่า 54 เดือน หรือ กว่า 4 ปีครึ่ง โดยมีการทดลองบินเครื่องต้นแบบ YF-22 กว่า 74 เที่ยวบิน รวมเวลาบิน 91.6 ชั่วโมง ทดสอบติดตั้งและยิงจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศ ไซด์ไวน์เดอร์ และ เอมแรม การเติมน้ำมันในอากาศ ทดสอบปรับแรงขับของเครื่องยนต์ขณะบิน ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ (AVIONICS) การทดสอบและปรับปรุงห้องนักบินโดยการทดลองใช้จริงร่วมกับกองทัพอากาศและกอง ทัพเรือสหรัฐฯ และการทดสอบวัดขนาดพื้นที่สะท้อนเรดาร์ กับขนาดจริงของเครื่องบิน ส่วนการทดสอบเครื่องยนต์ต้นแบบ ก็มีอยู่ 2 แบบคือ เครื่องยนต์ต้นแบบ YF-119 ของบริษัทแพทตแอนด์วิทนีย์ และ เครื่องต้นแบบ YF 120 ของบริษัท เจนเนอรัล อิเล็คตริก ผลการตัดสินของกองทัพอากาศสหรัฐ ได้เลือกเครื่องยนต์ต้นแบบ YF-119 สำหรับใช้กับเครื่องบินขับไล่ เอฟ-22 [1][2]
เอฟ-22 เป็นเครื่องบินครองความเป็นจ้าวอากาศ แต่ทางกองทัพอากาศสหรัฐฯ มีโครงการพัฒนาเอฟ-22 ให้เป็นเครื่องบินรบหลายภารกิจ และพัฒนาให้สามารถโจมตีภาคพื้นดินและทิ้งระเบิดได้ เป็นเอฟบี-22 เพราะด้วยความสามารถของเอฟ-22 ที่เป็นเครื่องบินที่ใช้เทคโนโลยีในการออกแบบและพื้นผิวเครื่องแบบพิเศษทำ ให้ล่องหน (Stealth) สามารถรอดพ้นจากการตรวจจับด้วยเรดาร์ สามารถบินเข้าไปสู่เป้าหมายด้วยความเร็วเหนือเสียงโดยไม่ต้องสันดาปท้ายและ เข้าปฏิบัติการตามลำพังได้ การโจมตีเป้าหมายของเอฟ-22 นักบินจะนำเครื่องบินสู่เป้าหมายด้วยอัตราความเร็ว 1.5 มัค ที่ความสูง 18 000 เมตร เพื่อลดโอกาสการถูกตรวจจับและการต่อต้านจากอาวุธภาคพื้นดิน เป้าหมายการทำลายของเอฟ-22 คือฐานยิงอาวุธปล่อยนำวิถีเคลื่อนที่ และ เป้าหมายที่ต้องทำลายเร่งด่วนอื่นๆ[3]


-22 นั้นมีความสามารถในการบินด้วยความเร็วเหนือเสียงได้โดยไม่ต้องเปิด Afterburn ซึ่งเรียกความสามารถนี้ว่า "Super Cruise" ทำให้ลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไปได้มากทีเดียว โดย F-22 มีรัศมีปฏิบัติการที่ 1000 กิโลเมตร มีเรด้าห์ AN/APG-77 AESA (Active Electronic Scan Array) ที่ทันสมัย มีระบบ Datalink โดยมีลักษณะการทำงานแบบเดียวกับระบบ Datalink ที่ติดตั้งอยู่ใน JAS-39 Gripen (สนใจลักษณะการทำงานกรุณาคลิ้กไปดูบทความเรื่องJAS-39 ครับ) F-22 สามารถบินได้ที่ความสูงที่สูงถึง 66 000 ฟุต เรียกได้ว่าสูงกว่าเครื่องบินแบบอื่น ๆ ประมาณ 10 000 ฟุตเลยทีเดียว

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บล็อกคืออะไร

วันที่ ศุกร์ ธันวาคม 2549
พิมพ์หน้านี้ ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation

บล็อก คือ อะไร
บล็อก (BLOG) คืออะไร
บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก) = BLOG คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย
ลักษณะของสื่อใหม่
กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
มีลักษณะเป็น Interactive
ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=66